ฤทธ์ลดไข้ของยาตำรับจันทลีลา

โดย: สุทธิโชติ ติยภูมิ ,สุรชัย งามรัตน์ไพบูลย์    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ยาตำรับจันทลีลา ประกอบไปด้วยพืชสมุนไพร 8 ชนิดคือ กะดอม, โกฐจุฬาลัมภา, โกฐสอ, โกฐเขมา, จันทร์เทศ, จันทน์แดง, บอระเพ็ด และปลาไหลเผือก ที่มีสรรพคุณทางยา และมีการนำมาใช้อย่างมากมาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์เอกลักษณ์ และส่วนประกอบในวงการแพทย์แผนไทย และจัดทำมาตรฐานของยาตำรับจันทลีลา ยกเว้นบอระเพ็ด การทำวิจัยนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์ในการลดไข้ของยาตำรับจันทลีลาในกระต่ายพันธุ์ตาแดงเพศผู้ที่ถูกชักนำให้เกิดไข้ด้วย Lipopolysaccharide (LPS) พบว่า LPS ขนาด 10 มคก./กก. ชักนำให้เกิดไข้สูงสุดในกระต่ายหลังจากฉีดไปแล้ว 3 ชั่วโมง และเมื่อป้อนผงยาตำรับจันทลีลาขนาด 100 , 200 และ 400 มก./กก. หรือยาลดไข้มาตรฐาน (พาราเชตามอล 200 มก./กก. )ในชั่วโมงที่ 3 หลังจากฉีด LPS พบว่ายาตำรับจันทลีลาขนาด 400 มก./กก. สามารถลดไข้ได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1 หลังจากได้รับยาตำรับจันทลีลา และยังแสดงผลลดไข้ต่อเนื่องไปถึงชั่วโมงที่ 4 หลังจากได้รับยาตำรับจันทลีลา (P<0.05) เช่นเดียวกับยาลดไข้อ้างอิง (พาราเชตามอลขนาด 200มก./กก.) นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำ TLC’ pattern และ ค่า Total Ash ของส่วนประกอบ แต่ละตัว และยาตำรับจันทลีลา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐาน และพิสูจน์เอกลักษณ์เปรียบเทีบบในงานวิจัยอื่นต่อไป
abstract:
The Chantaleela formulation consists of eight plants;Ka-Dom (Gymnopetalum cochinense Kurz H.C.,Cucurbitaceae), Koad-Chulalumpa (Artemisia vulgaris Linn., Compositae), Koad-So (Angelica sylvestris Linn., Umbelliferae), Koad-Kamao (Atracylodes lancea (Thunb) DC., Compositae), Nutmeg (Myristica frgrans Houtt., Myristicaceae), Chan-Daeng (Dracaena loureiri Gagnep., Agavaceae), Bor-ra-pet (Tinospora crispa Miers ex.Hook.f. Thoms., Menispermaceae) and Pra-Lai-Peark (Eurycoma longifolia Jack., Simarubaceae); which have long been used in Thai traditional medicine. The antipyretic activity of Chantaleela formula was studied in male New Zealand white rabbit. Fever was induced by subcutaneous injection of Lipopolysaccaride (LPS) at a dose of 10 mcg./KgBW. in rabbits.Three hours after LPS administration, Chantaleela formula at various doses (100, 200 and 400 mg./kgBW.) was orally admistered to the animals. The antipyretic effect was observed in rabbits receiving Chantaleela formula at a dose of 400 mg./kgBW. which was comparable to those receiving paracetamol 200 mg./kgBW. It can be concluded that Chantaleela formula counter-reacts LPS-induced fever in rabbits. The TLC’ pattern of Chantaleela formula and each constituents were recorded as well as total ash values for further study.
.