การวิเคราะห์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในวารสารบันเทิง

โดย: วรรณา รุ่งแสง,วรรณิภา สุสัณฐิตพงษ์    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: อาทร ริ้วไพบูลย์ , วินิต อัศวกิจวิรี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: การโฆษณา, สื่อสิ่งพิมพ์, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร , Advertisement, Printed materials, Herbal product
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสื่อสิ่งพิมพ์ในด้านความถูกต้องของการโฆษณาตามกฎหมายและความเหมาะสมทางวิชาการ การวิจัยเป็นการสำรวจแบบตัดขวาง กลุ่มเป้าหมายคือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในรูปแบบของยา อาหาร และเครื่องสำอาง ในสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใบปลิวและในวารสารบันเทิงราคาฉบับละไม่เกิน 50 บาท โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก นำมาวิเคราะห์ความถูกต้องทางกฎหมายโดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติอาหาร พระราชบัญญัติเครื่องสำอางและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และแนวทางการโฆษณาที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อจากนั้นจึงวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิชาการโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากฐานข้อมูล Medline จากตัวอย่างที่เก็บในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2543 จำนวน 23 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอาหาร 11 ตัวอย่าง ยา 2 ตัวอย่าง เครื่องสำอาง 10 ตัวอย่าง พบว่ามีความไม่ถูกต้องทางกฎหมายรวม 15 ตัวอย่าง แบ่งเป็นยา 1 ตัวอย่าง อาหาร 8 ตัวอย่าง เครื่องสำอาง 6 ตัวอย่างเมื่อวิเคราะห์ตามประเภทของสื่อพบว่าเป็นการโฆษณาโดยใช้ใบปลิว 9 ชิ้น และวารสาร 14 ชิ้น มีผิดกฎหมาย 6 ชิ้น และ 9 ชิ้นตามลำดับ สำหรับความถูกต้องเหมาะสมทางวิชาการพบว่าส่วนใหญ่คือ 18 จาก 23 ตัวอย่างแบ่งเป็นอาหาร 9 ตัวอย่าง ยา 1 ตัวอย่าง เครื่องสำอาง 8 ตัวอย่างมีการโฆษณาขัดกับหลักการทางวิชาการหรือไม่พบข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน รวมทั้งไม่ระบุชนิดของสมุนไพร เมื่อแยกตามประเภทของสื่อพบว่าความไม่ถูกต้องนี้เกิดกับสื่อใบปลิวในสัดส่วนใกล้เคียงกับวารสารบันเทิง ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสื่อสิ่งพิมพ์มีความไม่เหมาะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการโฆษณาให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้นรวมทั้งมีการเฝ้าระวังให้มากขึ้นและสนับสนุนให้ผู้ผลิต สื่อมวลชนให้มีความรู้และความรับผิดชอบในการโฆษณามากขึ้น
abstract:
This research aimed to investigate printed materials of herbal product in forms of drug, food, and cosmetics in terms of legal compliance and technical appropriateness. The research was designed as a cross-sectional survey research. The target population was entertaining magazine value not more than 50 bath and advertising sheets. Sampling was conducted employing convenient method. Analysis was covered legal and technical aspects. Legal analysis was based on food, drug, cosmetics and consumer protection acts including advertising guidelines. Then, technical information was compared with data retrieved from the Medline database. Among twenty-three advertisments ; 2 , 11 and 10 of drug, food and cosmetics respectively, collected during June to July 2000, it was found that 1 drug advertisement, 8 food advertisements and 6 cosmetics advertisements were not compliant regarding the related acts and guidelines. Focusing on the sources, 6 of 9 advertisements via magazines and 9 of 14 advertisements via advertising sheets were illegal. In terms of technical appropriateness, 18 samples comprising 1 drug advertisement, 9 food advertisements and 8 cosmetics advertisements, had neither information on species of herbs nor evidence of scientific support based on the Medline database. Ratio of inappropriateness in advertising sheets was nearly that of magazine. The results showed a low level of both legal and technical compliance of herbal advertisements. Therefore, responsible and other related govermental organizations should pay more intention on both law enforcement and promotion to herbal manufactures and mass media.
.