การพัฒนายาเม็ดออกฤทธิ์นานดิลไทอะเซม โดยเทคนิคการเคลือบฟิล์ม

โดย: นายบดินทร์ เทพรัตน์, นายศุภศิษฏ์ การดี    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: ดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์, การเคลือบฟิล์ม, การควบคุมการปลดปล่อยตัวยา, Diltiazem Hydrochloride, Film Coated, Controlled Release.
บทคัดย่อ:
จากการศึกษาอิทธิพลเชิงเปรียบเทียบของปริมาณ Acrylic polymer คือ Eudragit? RS ที่ความหนาการเคลือบต่างๆ คือ 2, 3, 4 และ 5 % (w/w) ต่อคุณสมบัติต่างๆ ของยาเม็ด ทั้งด้านความแข็ง ความหนาที่เพิ่มขึ้น และอัตราการปลดปล่อยตัวยาดิลไทอะเซม ไฮโดรคลอไรด์ ออกจากยาเม็ด 2 ตำรับ ซึ่งใช้สารเพิ่มปริมาณแลคโตสหรือ Starch 1500 โดยใช้เครื่องทดสอบการละลายแบบที่ 2 (USP 25) จากการทดลองพบว่าเมื่อทำการเคลือบฟิล์มที่ความหนาต่างๆ เม็ดยาจะมีความเเข็งและความหนาเพิ่มขึ้นในทุกความหนาของฟิล์มที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดของสารเพิ่มปริมาณที่เเตกต่างกัน พบว่าจะให้ความเเข็งเเละความหนาที่ใกล้เคียงกันในด้านการปลดปล่อยตัวยาออกจากยาเม็ดไม่ว่าจะใช้แลคโตสหรือ Starch 1500 การเพิ่มความหนาของฟิล์มจะมีผลให้อัตราเร็วในการปลดปล่อยลดลง และ lag time เพิ่มขึ้นอย่าง ชัดเจน ที่ความหนาของฟิล์มเท่าๆ กัน พบว่าการใช้แลคโตสจะมีผลหน่วงอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Starch 1500
abstract:
The comparative effects of various amounts of Eudragit? RS, 2-5%w/w of a tablet weight , on the physical properties of diltiazem hydrochloride tablets and the release rate of diltiazem hydrochloride from tablets of 2 formulations utilizing lactose or starch 1500 as diluent,were studied using the USP dissolution apparatus 2. For both formulations, it was found that the tablet hardness and thickness were increased with the amount of Eudragit? RS . At the same level of film thickness, such formulations provided tablets with nonsignificant difference in hardness or thickness. From the drug release data from coated tablets of both formulations using lactose and starch 1500, it was found that the release rate of drug was remarkedly decreased and the lag time was increase with the increased film thickness . At the same level of film thickness, tablets using lactose were found to remarkedly retard the release rate of drug compared with those using starch 1500.
.