การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสของสารสกัดจากพืชตระกูลส้ม

โดย: นางสาวปณิดา ไทยอ่อน,นายยศธร เลิศศักดิ์ศรีสกุล    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 45

อาจารย์ที่ปรึกษา: วรวรรณ กิจผาติ , จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล , วีนา นุกูลการ    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส, ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด, พืชตระกูลส้มส่วนน้าคั้น, สารสกัดพืชตระกูลส้มส่วนกาก, Antioxidant, Anticholinesterase, Total phenolic, Citrus juices, Citrus tissues
บทคัดย่อ:
การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ของพืชตระกูลส้มจานวน 6 ชนิดที่ปลูกในประเทศไทยได้แก่ ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอทับทิมสยาม มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง และ ส้มซ่า โดยใช้ส่วนของน้าคั้น ซึ่งนาไปทาให้แห้งโดยวิธีการ Freeze dry และส่วนของสารสกัดเมทานอลจากส่วนกากที่เหลือจากการคั้นน้า แล้วนาสารสกัดทั้งสองส่วนไปทดสอบหาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด พบว่าส่วนน้าคั้นและสารสกัดส่วนกากมีปริมาณ ฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ในช่วง 3.71 - 5.38 mg GAE/g extract และ 4.35 - 6.98 mg GAE/g extract ตามลาดับ และเมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH พบว่าส่วนน้าคั้นมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 2.26 – 4.54 mg/ml ขณะที่สารสกัดส่วนกากมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 2.97 - 4.67 mg/ml โดยค่า IC50 ของสารมาตรฐาน คือ Trolox และ Vitamin C มีค่าเท่ากับ 0.0100 ± 0.0005 และ 0.0125 ± 0.0009 mg/ml ตามลาดับ การทดสอบฤทธิ์ต้าน เอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส โดยการหาค่า % inhibition ที่ความเข้มข้น 0.5 mg/ml ด้วยวิธี Ellman’s พบว่าส่วนน้าคั้นมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสอยู่ในช่วง 10.98 – 15.24% ในขณะที่สารสกัดส่วนกากมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส อยู่ในช่วง 8.37 - 21.85% โดยสารมาตรฐาน คือ Galantamine มีค่า % inhibition ที่ความเข้มข้น 0.05 mg/ml เท่ากับ 89.18% ผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดทั้งในส่วนของน้าคั้นและสารสกัดส่วนกากของส้มทั้ง 6 ชนิดมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและต้านเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสที่ใกล้เคียงกัน แต่ค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้งสองส่วนแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่สอดคล้องกับปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดที่พบ
abstract:
The purpose of this project was to evaluate the antioxidant and anticholinesterase activity of six citrus fruits from Thailand: Citrus maxima Merr., Citrus maxima (Burm.) Merr., Citrus aurantifolia, Citrus reticulata Blanco., Citrus sinensis Osb., Citrus aurantium var. aurantium. The juice samples and methanolic extracts from tissues after squeezing and freeze dried were used. Total phenolic was determined by Folin-Ciocalteu method at concentration of 0.5 mg/ml. The total phenolic content of the juice samples were between 4.35 - 6.98 mg GAE/g extract while those from the tissue extracts were between 3.71 - 5.38 mg GAE/g extract. The antioxidant activity was determined by DPPH assay. The juice samples had IC50 value between 2.26 - 4.54 mg/ml and the tissue extracts had IC50 value between 2.97 – 4.67 mg/ml. The IC50 of Trolox and Vitamin C, reference standard, were 0.0100 + 0.0005 and 0.0125 + 0.0009 mg/ml, respectively. The anticholinesterase activity represented as % inhibition was determined by Ellman’s method at the concentration of 0.5 mg/ml. The inhibitory activity of the juices samples and the tissue extracts were 10.98 - 15.24% and 8.37 - 21.85%, respectively. Galantamine, reference standard, had % inhibition of 89.18% at the concentration of 0.05 mg/ml. The data revealed that both juice samples and tissue extracts from six citrus fruits exhibited low antioxidant and anticholinesterase activity. However, the antioxidant activity of the juice samples and tissue extracts correlated with their total phenolic contents.
.