ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทางบริบาลเภสัชกรรม ในร้านขายยา

โดย: เกษศิรินทร์ ทัดเทียม,อรุโณทัย เดอรามันห์    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 46

อาจารย์ที่ปรึกษา: ชะอรสิน สุขศรีวงศ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม, การบริการ, ความเต็มใจ, Pharmaceutical care, service, willingness to pay.
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติผู้ที่เต็มใจจ่ายค่าบริการแก่เภสัชกรชุมชนโดยผู้มารับบริการที่ร้านขายยา และศึกษาอัตราส่วนของผู้ที่มีความเต็มใจในการจ่ายค่าบริการต่อผู้มารับบริการทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความครบถ้วนในเนื้อหาและความเข้าใจแล้ว สุ่มจากประชาชนที่มาซื้อยาจาก 5 ร้านขายยา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน เป็นเพศชายร้อยละ 39.2 เพศหญิงร้อยละ 60.8 ,ร้อยละ 45 มีอายุอยู่ระหว่าง 15-25 ปี,การศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 67.5, อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจร้อยละ 25 ,สถานภาพโสดร้อยละ 63.3 และร้อยละ 33.3 มีรายได้ 6,001–10,000 บาท ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 85.8 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าเภสัชกรควรให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า ควรให้บริการโดยบวกค่าบริการไว้ในราคายา ร้อยละ 3.3 โดยเต็มใจจ่ายในมูลค่า 11–20 บาท และควรให้บริการโดยมีค่าตอบแทนต่อครั้ง ร้อยละ 10.9 โดยร้อยละ 8.4 จ่ายในมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 บาท ร้อยละ 2.5 จ่ายในมูลค่า 11–20 บาท แต่เมื่อกำหนดให้การบริการทางบริบาลเภสัชกรรมของเภสัชกรชุมชนต้องมีการจ่ายค่าบริการ พบว่า ร้อยละ 45 ยินดีจ่ายด้วยตนเอง และร้อยละ 55 ไม่ยินดีจ่ายด้วยตนเอง โดยความแตกต่างในเรื่องเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ และรายได้ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในความยินดีในการจ่ายค่าบริการ ปัจจัยที่มีผลในการจ่ายค่าบริการด้วยตนเอง คือ สถานะสุขภาพ โดยกลุ่มที่มีสถานะทางสุขภาพดีจะมีความยินดีในการจ่ายค่าบริการมากกว่ากลุ่มที่มีสถานะสุขภภาพพอใช้และไม่ดี ส่วนปัจจัยในด้านความถี่ในการเข้ารับบริการใน 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มที่เข้ารับบริการน้อยครั้งมีความเต็มใจในการจ่ายค่าบริการมากกว่ากลุ่มที่เข้ารับบริการมากกว่า 2 ครั้ง การศึกษานี้ทำให้เข้าใจถึงความเต็มใจในการจ่ายค่าบริการทางการบริบาลเภสัชกรรมแก่เภสัชกรในร้านขายยา ซึ่งจะมีผลต่อมาตรฐานเภสัชกรรมปฏิบัติที่ดีในสถานเภสัชกรรมชุมชน อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการการศึกษาในด้านนี้เพิ่มเติมอีก
abstract:
The objectives of this study were to assess the willingness to pay for pharmaceutical care in drug store and the ratio of those who were willing and were not willing to pay.Five drugs stores in Bangkok having full time pharmacists were chosen for data collection by questionairs.Total 120 respondents were randomly selected. The results revealed that most respondents ( 85.8 percent ) had the opinion that the pharmacist ought give service for free.10.8 percent paid per time visited,3.3 percent charge included in drug cost.The value of charge was between 10 – 20 bath.The value of pay per time visited was between 1 – 20 bath;most of them were willing to pay 10 bath.When a scenario that all pharmaceutical care must be paid,results showed that 45 percent of the respondents were willing to pay by themselves,while 55 percent were not.Differences in gender,age,education,occupation status and income did not affect willineness to pay for pharmaceutical care in drug store.Differences in health affected willingness to pay for pharmaceutical care in drug store;the respondents who had better health status were more willing to pay than those who had less.The frequency of visiting drug stores during the last month affected willingness to pay for pharmaceutical care in drug store;those who sometime (< 1 ) visited drug store were more willing to pay than those who often (> 2 ) visited drug store.Previous experiences in obtaining the pharmaceutical care of pharmacist did affect willingness to pay.The findings from this enable us to more understanding of willingness to pay for pharmaceutical care in drug store.This is useful for improving pharmacist role and better pharmacy practice in drug store.However more studies in this area are needed.
.