ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทางบริการเภสัชกรรมที่โรงพยาบาล

โดย: จารุวรรณ ไชยศรี,จารุวรรณ โตรณ    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 47

อาจารย์ที่ปรึกษา: ชะอรสิน สุขศรีวงศ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม, ความเต็มใจจ่ายค่าบริการเภสัชกรรม, Pharmaceutical care, Willingness to pay for pharmaceutical care
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของผู้ป่วยที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการเภสัชกรรมโรงพยาบาลของผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลพิจิตร, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน และโรงพยาบาลบางมูลนาก และศึกษาอัตราส่วนของผู้ที่เต็มใจจ่าย และไม่เต็มใจจ่ายค่าบริการกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอกที่รอรับยาจำนวน 100 คนได้จากการสุ่มแบบ Convenience sampling โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความครบถ้วนในเนื้อหา และความเข้าใจแล้ว ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 70เป็นหญิง, ร้อยละ 56 อายุน้อยกว่า 30 ปี, ร้อยละ 51จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ป.6, ป.4), ร้อยละ31 มีอาชีพรับจ้างหรือพนักงาน, ร้อยละ 81 มีสถานะภาพสมรสแล้ว ,ร้อยละ 56 มีเงินเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท, ร้อยละ 46 มีสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี,ร้อยละ 61 เข้ามารับยาในโรงพยาบาลในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 1 ครั้ง, ร้อยละ 77 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าเภสัชกรควรให้บริการทางเภสัชกรรมโดยทำให้โดยไม่คิดมูลค่า, ร้อยละ 17 ควรให้บริการโดยบวกค่าบริการไว้ในราคายา ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 10-110 บาทโดยส่วนใหญ่มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการในมูลค่า 20 บาท และร้อยละ 5 มีความคิดเห็นว่าควรทำและจ่ายเป็นค่าตอบแทนต่อครั้ง มีมูลค่าตั้งแต่ 20-50 บาท ถ้าการให้บริการทางเภสัชกรรมต้องมีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 45 ยินดีจ่ายค่าบริการด้วยตัวเอง, ร้อยละ 55 ไม่ยินดีจ่ายค่าบริการด้วยตังเอง โดยร้อยละ 11 ให้ประกันสังคมเป็นผู้จ่าย และใครก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเราร้อยละ 32 ผู้ที่เต็มใจจ่ายค่าบริการ มีลักษณะต่างๆ ซึ่งอธิบายได้ดังต่อไปนี้ สถานะทางสุขภาพที่ต่างกันมีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าบริการทางเภสัชกรรม (p<0.05) ส่วนเพศ, อายุ, การศึกษา, อาชีพ, สถานภาพ, รายได้และความถี่ของการมารับยาในโรงพยาบาลในช่วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าบริการทางเภสัชกรรม การศึกษานี้ทำให้เข้าใจถึงความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการต่อการบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกรในโรงพยาบาล ซึ่งจะมีผลช่วยสร้างมาตรฐานเภสัชกรรมปฏิบัติที่ดีในโรงพยาบาล
abstract:
The objectives of this study were to assess the characteristics of out-patients willingness to pay for pharmaceutical care at Pichit, Taphanhin Crown Prince and Bangmoonnak hospitals and the ratio of those who were willing and not willing to pay. Three hospitals in Pichit province were chosen for data collection by interviewed questionaire which were tested for content validity. Total one hundred respondents were randomly selected. The result revealed that the sample was female, aged under thirty years old, finished primary education or under, labor or officer, married, income less than or equal three thousand bahts, good healthy and last month visited hospital one times 70%, 56%, 51%, 31%, 81%, 56%, 46% and 61% respectively. 77% of them had the opinion that the pharmacist ought give service for free, 17% charge included in drug cost and 5% pay per time visited. The value of charged was between 10 – 110 bahts; most of them were willing to pay 20 bahts. The value of pay per time visited was between 20 – 50 bahts. If pharmaceutical care have to be paid for service, it was found that 45% were willing to pay by themselves while 55% were not; social security and anyone not themselves should pay 32% and 11% respectively. Differences in health status affected willingness to pay for pharmaceutical care in hospital (P < 0.05). Differences in gender, age, education, occupation, status, income and frequency of visited hospital for last month did not affected willingness to pay for pharmaceutical care in hospital. The findings from this study enable us to more understanding of the willingness to pay for pharmaceutical care in hospital. This is useful for improving pharmacist role and better pharmaceutical practice in hospital.
.