การใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อในผู้ป่วยหนัก ที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: การศึกษาแบบย้อนหลัง

โดย: นางสาวเทียมแข มโนวรกุล,นายอภิชัย เอี่ยมไพศาล    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 47

อาจารย์ที่ปรึกษา: พิชญา ดิลกพัฒนมงคล , ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ , วิรัช ตั้งสุจริตวิจริต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: -, -
บทคัดย่อ:
ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ถูกใช้มากขึ้นในปัจจุบันในกลุ่มผู้ป่วยหนักอายุรกรรม เนื่องจากสามารถลดความไม่สอดคล้องกับเครื่องช่วยหายใจและลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อที่ใช้เป็นประจำในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่รักษาตัวที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยทำการทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลังและเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 10 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อจำนวน 52 คน อายุเฉลี่ย 58.11±19.79 ปี และคะแนน APACHE II เฉลี่ย 25.82±8.70 คะแนน สาเหตุหลักของการเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คือ โรคปอดอักเสบ (ร้อยละ 84.62) โดยผู้ป่วยในการศึกษาได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อซิสอะทราคูเรียมทั้งหมด เมื่อพิจารณาขนาดยาต่อเนื่องของซิสอะทราคูเรียมพบว่าผู้ป่วยจำนวน 23 คน (ร้อยละ 44.23) ได้รับขนาดยาอยู่ในช่วงที่แนะนำ (1–3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที) มีผู้ป่วยจำนวน 20 คน (ร้อยละ 38.60) ได้รับขนาดยาตํ่ากว่าที่แนะนำ (<1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที) และ 9 คน (ร้อยละ 17.30) ได้รับขนาดยาสูงกว่าขนาดยาที่แนะนำ (>3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที) ตามลำดับ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ยาซิสอะทราคูเรียมในขนาดที่แตกต่างไปจากขนาดยาที่แนะนำอยู่ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาหย่อนกล้ามเนื้อซึ่งยังต้องการการศึกษาต่อไป
abstract:
Neuromuscular blocking agents (NMBAs) are now widely used in medical intensive care unit (MICU), mainly because of reduced ventilator asynchrony and decreased mortality in acute respiratory distress syndrome patients. The purpose of this study was to characterize use of NMBAs in routine clinical practice for ARDS patients admitted to MICU, Ramathibodi hospital. Medical chart reviews were retrospectively reviewed and data were collected over 10-year period, from 2007 to 2016. There were 52 ARDS patients prescribed NMBAs during MICU admissions with average age of 58.11±19.79 years and average APACHE II score of 25.82±8.70. Most cases of ARDS in our study were associated with pneumonia and every of them used cisatracurium. Regarding recommended cisatracurium infusion dose, there were 23 patients (44.23%) used cisatracurium consistent with recommended dose (1-3 μg/kg/min), 20 patients (38.60%) used cisatracurium lower than recommended dose (<1 μg/kg/min) and 9 patients (17.30%) used higher than recommended dose (>3 μg/kg/min), respectively. In conclusion, this study shows that cisatracurium dose were varied from recommended dose.Furthermore, there are also other factors that may potentiate neuromuscular blocking agent and required further studies.
.