ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของต้นโคคลาน

โดย: สุไมพร ไพรสุขวิศาล,อัครเดช ศรีฟอง    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: จุฑามณี สุทธิสีสังข์ , นพมาศ สุนทรเจริญนนท์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การปวด, การอักเสบ, writhing test, formalin test, โคคลาน , analgesic, antiinflammatory, writhing test, formalin test, Mallotus repandus
บทคัดย่อ:
การศึกษาฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของต้นโคคลาน จะใช้วิธี writhing test และ formalin test ในหนูถีบจักรเพศผู้น้ำหนัก 30–50 กรัม ในการทดลอง writhing test ผลการทดลองพบว่า สาร K004A ซึ่งเป็นสารสำคัญของต้นโคคลาน สามารถลดจำนวนครั้งการเกิด writhing ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ED50 เท่ากับ 7.6 มก./กก. เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนในการทดลอง formalin test สังเกตพฤติกรรม 2 ช่วง คือ early phase (0–5 นาทีหลังจากฉีดฟอร์มาลิน) ซึ่งแสดงอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) พบว่าสาร K004A ในขนาดความเข้มข้น 20 มก./กก. ไม่สามารถลดเวลาที่หนูยกเท้าข้างที่ถูกฉีดฟอร์มาลินขึ้นเลียลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และอีกช่วงหนึ่งคือ late phase (15–30 นาทีหลังจากฉีดฟอร์มาลิน) ซึ่งแสดงถึงกระบวนการอักเสบ พบว่าสาร K004A สามารถต้านฤทธิ์การอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า ED50 12.5 และ 12.7 มก./กก. สำหรับจำนวนครั้งและเวลาที่หนูยกเท้าข้างที่ถูกฉีดฟอร์มาลินขึ้นเลีย ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับสารต้านการอักเสบมาตรฐาน diclofenac sodium ที่มีค่า ED50 4.9 และ 7.1 มก./กก. สำหรับจำนวนครั้งและเวลาที่หนูยกเท้าข้างที่ถูกฉีดฟอร์มาลินขึ้นเลีย ตามลำดับ ใน formalin test พบว่า K004A มีความแรงน้อยกว่า diclofenac sodium 1.8 และ 2.6 เท่า สำหรับจำนวนครั้งและเวลาที่หนูยกเท้าข้างที่ถูกฉีดฟอร์มาลินขึ้นเลีย ตามลำดับ
abstract:
The analgesic and antiinflammatory activities of Mallotus repandus is studied by using writhing and formalin test in male mice weighing 30 – 50 grams. In writhing test, the result showed that K004A which is the active substance of Mallotus repandus significantly decreased number of writhing when compared with control group at ED50 of 7.6 mg/kg. In formalin test model, mice were observed for 2 phase; early phase and late phase. Early phase (0 – 5 min post-formalin injection) represents acute pain. The result showed that 20 mg/kg of K004A nonsignificantly reduced the time spent licking when compared to the control group in early phase. Late phase (15 – 30 min post-formalin injection) represents inflammation phase. The result revealed that K004A significantly decreased number of lifting and time spent licking when compared with control group at ED50 of 12.5 and 12.7 mg/kg, respectively. When compared to diclofenac sodium (positive control) which had ED50 of 4.9 and 7.1 mg/kg for number of lifting and time spent licking in formalin test, which was found that K004A was 1.8 and 2.6 times less potent than diclofenac sodium.
.