ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ด

โดย: นางสาวกฤตยา สังข์สุวรรณ์,นางสาวกฤตยา อัครวงษ์    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ , สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , เพ็ญโฉม พึ่งวิชา    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, เห็ด, เห็ดขอน, เห็ดเผาะ, เห็ดตับเต่า, เห็ดเผิ้งขาลาย, เห็ดขม, เห็ดระโงกขาว, free radical scavenging activity, mushroom, Lentinus squarrosulus Mont., Astraeus hygrometricus (Pers.) Morg., Boletus aureissimus var. castaneus Murr., Boletus tenax A.H. Smith & Thiers., Tylophilus felleus (Bull.ex Fr.) Karst.,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดที่มีในประเทศไทยจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ เห็ดขอน, เห็ดเผาะ, เห็ดตับเต่า, เห็ดเผิ้งขาลาย, เห็ดขม, เห็ดระโงกขาว สกัดสารสำคัญจากเห็ดแต่ละชนิดด้วย methanol 80% ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเห็ดทั้ง 6 ชนิด ด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดจาดเห็ดเผิ้งขาลายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า IC50 117.59 ?g/ml รองลงมาคือ สารสกัดจากเห็ดขอน, เห็ดขม, เห็ดเผาะ, เห็ดตับเต่าและเห็ดระโงกขาว ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 267.53, 459.62, 483.60, 485.39 และ 1105.96 ?g/ml ตามลำดับ สำหรับค่า IC50 ของสารมาตรฐาน คือ Trolox และ Vitamin C มีค่า 4.62, 5.22 ?g/ml ตามลำดับ ส่วนวิธีที่สองคือ Reducing power assay สารสกัดจากเห็ดเผิ้งขาลายมีฤทธิ์สูงสุด รองลงมาคือสารสกัดจากเห็ดขอน, เห็ดขม, เห็ดตับเต่า ,เห็ดระโงกขาวเหลือง และเห็ดเผาะ ตามลำดับ สำหรับการหาปริมาณฟีโนลิครวม พบว่าเห็ดเผิ้งขาลายมีปริมาณฟีโนลิครวมมากที่สุด รองลงมาคือ เห็ดขม, เห็ดเผาะ, เห็ดขอน,เห็ดตับเต่า และเห็ดระโงกขาวเหลือง ตามลำดับ
abstract:
The purpose of this project was to evaluate the antioxidant activity of six Thai mushrooms : Lentinus squarrosulus Mont., Astraeus hygrometricus (Pers.) Morg., Boletus aureissimus var. castaneus Murr., Boletus tenax A.H. Smith & Thiers., Tylophilus felleus (Bull.ex Fr.) Karst., Amanita princeps Cor. & Bas.These samples were extracted using 80% methanol.The antioxidant activity were determined by DPPH method.It was shown that the extract of Boletus tenax A.H. Smith & Thiers possed the most potent activity at IC50 of 117.59 ?g/ml, while by L. squarrosulus Mont., T. felleus (Bull.ex Fr.) Karst., A. hygrometricus (Pers.) Morg., B. aureissimus var. castaneus Murr. and A. princeps Cor. & Bas.had IC50 at the concentration of 267.53, 459.62, 483.60, 485.39 and 1105.96 ?g/ml respectively. The IC50 concentration of Trolox and Vitamin C were 4.62, 5.22 ?g/ml respectively. The Boletus tenax A.H. Smith & Thiers. also showed the most reducing power as well as the high total phenolic content when compare to other extracts.
.