การรักษาด้วยฮอร์โมนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะก้าวหน้าที่หมดประจาเดือนที่ไม่เคยได้รับฮอร์โมนและกลุ่มที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยยา aromatase inhibitors: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย

โดย: นางสาว จุรีพร รัตตมณี, นางสาว ศศิกานต์ ศิวะภิญโญยศ    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , จิระพรรณ จิตติคุณ , มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , พิมพ์ชนก โห้งาม    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: มะเร็งเต้านมระยะก้าวหน้า, วัยหมดประจาเดือน, exemestane, fulvestrant, non-steroidal aromatase inhibitor, capecitabine, breast neoplasm, advanced breast cancer, postmenopausal, aromatase inhibitors, exemestane, fulvestrant, capecitabine
บทคัดย่อ:
ยาฮอร์โมนเป็นทางเลือกหนึ่งที่แนะนาให้ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมระยะก้าวหน้า ในผู้ป่วยวัยหมดประจาเดือนก่อนเริ่มการรักษาด้วยเคมีบาบัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อภิ-มานประสิทธิผลของยาฮอร์โมนในผู้ป่วยวัยหมดประจาเดือนที่ล้มเหลวจากการใช้ยา tamoxifen หรือ non-steroidal aromatase inhibitors งานวิจัยนี้ได้ทาการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย โดยรวบรวมข้อมูล การทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม (Randomized controlled trials, RCTs) จากฐานข้อมูล ได้แก่ Pubmed, Cochrane library และ Scopus ซึ่งไม่มีการจากัดปีที่ตีพิมพ์ และเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น จากการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า objective response rate (ORR) ต่อยาฮอร์โมนแต่ละชนิด (anastrozole, letrozole, exemestane, fulvestrant และ megestrel acetate) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการใช้ยา tamoxifen แต่พบว่า letrozole 2.5 mg มี %cumulative probability of ORR มากกว่า anastrozole 1 mg และ exemestane (ร้อยละ 63.1, 62.2 และ 53.2 ตามลาดับ) สาหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการใช้ non-steroidal aromatase inhibitors พบว่า Odds ratio (OR) ของ fulvestrant ต่อ exemestane เท่ากับ 1.39 (95% CI 0.76-2.53), การใช้ exemestane ร่วมกับ everolimus ต่อการใช้ exemestane เพียงอย่างเดียว เท่ากับ 17.94 (95% CI 2.36-136.21) และ การใช้ fulvestrant ต่อการใช้ exemestane ร่วมกับ everolimus เท่ากับ 0.08 (95% CI 0.01-0.64) ซึ่งผลที่ได้สอดคล้องกับผล %cumulative probability of ORR โดยการใช้ exemestane ร่วมกับ everolimus มี ORR สูงที่สุด (ร้อยละ 99.2) ดังนั้นการใช้ยาฮอร์โมนในผู้ที่ล้มเหลวจากยา tamoxifen ยังไม่มีการตอบสนองต่อยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติอย่างชัดเจน แต่การใช้ในผู้ป่วยที่ล้มเหลวจาก non-steroidal aromatase inhibitors การใช้ exemestane ร่วมกับ everolimus มีผลการตอบสนองต่อยามากที่สุด
abstract:
Endocrine therapy is the recommended treatment options for postmenopausal women with advanced breast cancer (ABC) before initiating chemotherapy. Therefore, this study aims to compare efficacy of endocrine therapy in postmenopausal women with ABC who had progression or recurrence on tamoxifen or non-steroidal aromatase inhibitors (NSAIs). We conducted a systematic review and meta-analysis of randomized-controlled trials which were published in English language from Pubmed, Cochrane library, and Scopus databases without publication year restriction. Results from network meta-analysis demonstrated no significant difference in endocrine therapy drugs (anastrozole, letrozole, exemestane, fulvestrant, and megestrol acetate) for objective response rate (ORR) in postmenopausal women with ABC who had progressed on tamoxifen but 2.5 mg letrozole have more % cumulative probability of ORR than 1 mg anastrozole and exemestane (63.1%, 62.2% and 53.2%, respectively). For postmenopausal women with ABC who had progressed on NSAIs, fulvestrant appeared to be more efficacious than that of exemestane (OR = 1.39; 95% CI 0.76-2.53) but fulvestrant is less efficacious than that of exemestane plus everolimus (OR = 0.08; 95% CI 0.01-0.64). Furthermore, exemestane plus everolimus also have the highest % cumulative probability of ORR (99.2%). In conclusion, there was no significant difference of ORR between endocrine therapy drugs in postmenopausal women with ABC who had progressed on tamoxifen but the combination of exemestane plus everolimus had the best efficacy in postmenopausal women with ABC who had progressed on NSAIs.
.