การเสริมฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดสมุนไพรต่อเชื้อ Stertococcus mutan และ Potphylomonas gingvalis

โดย: นราภรณ์ ฐานะโชติรัตน์,เกศินี นันทมานพ    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , เพชรรัตน์ ไกรอพันธุ์ , ชลธิชา อมรฉัตร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สมุนไพร, สารต้านจุลชีพในพืช, Streptococcus mutans, Porphyromonas gingivalis , Medicinal plant, Antimicrobial agent in plant , Streptococcus mutans, Porphyromonas gingivalis
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก ของสารสกัดสมุนไพรทั้งในรูปสารสกัดเดี่ยว และสารสกัดผสม โดยรวมรวมข้อมูลสมุนไพรจากภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีการบันทึกไว้ในตำราต่างๆ นำมาคัดเลือกและสกัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ 2 ชนิด ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคในช่องปาก ได้แก่ เชื้อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคฟันผุ และเชื้อ Porphyromonas gingivalis ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปริทนต์ โดยวิธี well agar diffusion test จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans คือ ใบข่อย มังคุด สีเสียดเหนือ และโด่ไม่รู้ล้ม ส่วนสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ P. gingivalis คือ ใบข่อย เปลือกข่อย มังคุด สีเสียดเหนือ โด่ไม่รู้ล้ม ฟ้าทะลาย คูน ส้มกบ ชะเอมเทศ และขิง จากผลการทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากของสารสกัดสมุนไพรผสม จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ใบข่อย สีเสียด (2) ใบข่อย สีเสียด มังคุด (3) ใบข่อย สีเสียด คูน (4) ใบข่อย สีเสียด มังคุด คูน (5) ใบข่อย สีเสียด มังคุด คูน ฟ้าทะลาย และ(6) ใบข่อย สีเสียด มังคุด คูน โด่ไม่รู้ล้ม พบว่า สารสกัดสมุนไพรผสมทั้ง 6 กลุ่ม มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากทั้งสองชนิดที่แตกต่างกัน โดยที่สารสกัดสมุนไพรผสมกลุ่มที่ 3 มีการเสริมฤทธิ์ต้านเชื้อ P. gingivalis ที่ค่าการเจือจางต่ำสุดเท่ากับ 1024 เท่า และไม่มีสารสกัดสมุนไพรผสมกลุ่มใดที่ให้การเสริมฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans ได้
abstract:
The purpose of this special project was to determine an antimicrobial activity in oral cavity of single herbal extract and combined herbal extract. The experiment was performed by collecting the data from various sources that were recorded by local people’s intellectuals and selecting the herbs which were assumed to have an antimicrobial activity. The herbs were extracted by using appropriate methods. These herbal extracts were then tested for their antimicrobial activity against Streptococcus mutans, a major cause of dental caries, and Porphyromonas gingivalis, a major cause of gingivitis by well agar diffusion test. The results revealed that the herbal extracts which had effectiveness against S. mutans were those of Streblus asper leaf, mangosteen, black catechu and Elephantopus scaber . The herbal extracts which had effectiveness against P. gingivalis were those of S. asper leaf, S. asper bark, mangosteen, black catechu, Elephantopus scaber, Andrographis paniculata, purging cassia, Oxalis corniculata, liquorice and ginger. The combined herbal extracts were prepared and divided into six groups; i.e. (1) S. asper leaf - black catechu, (2) S. asper leaf - black catechu – mangosteen, (3) S. asper leaf -black catechu - purging cassia, (4) S. asper leaf - black catechu - mangosteen -purging cassia, (5) S. asper leaf - black catechu - mangosteen - purging cassia - Andrographis paniculata and (6) S. asper leaf - black catechu – mangosteen - purging cassia - Elephantopus scaber. The results showed that all of them had different effectiveness against S. mutans and P. gingivalis. Furthermore, the third group showed the synergism effect of antimicrobial activity against P. gingivalis up to the dilution of 1:1024; however, none of them had the synergism effect of antimicrobial activity against S. mutans.
.