การเสริมฤทธิ์และการต้านฤทธิ์จากสารสกัดสมุนไพรและยาต้านจุลชีพต่อแบคทีเรียก่อโรค

โดย: นางสาวนงนภัส มาภักดี,นางสาวปนัสยา ศรชัย    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: สารสกัดสมุนไพร, ยาต้านจุลชีพ, การเสริมฤทธิ์และการต้านฤทธิ์, วิธี Broth dilution, วิธี Checkaboard, Herbal extract, Antimicrobial drugs, Synergism and antagonism activity,Broth dilution method, Checkaboard method
บทคัดย่อ:
การใช้สมุนไพรอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อได้ง่าย และจากความเชื่อว่า สมุนไพรมีฤทธิ์ที่สุขุมและเน้นในการเสริมสุขภาพ ทาให้มีผู้นามาใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยยาในแผนปัจจุบัน ในขณะที่สมุนไพรบางชนิดมีความสามารถในการล้างพิษ และตัวสมุนไพรประกอบด้วยสารต่างๆหลายชนิด ที่ยังไม่สามารถระบุประเภทและการออกฤทธิ์ได้ โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรและยาต้านจุลชีพโดยสมุนไพรที่ใช้คือสารสกัดจากหัวผักกาด(RaphanussativusLinn; RS) และ สารสกัดรางจืด(Thunbergialaurifolia Linn; TL) เพื่อศึกษาผลกระทบในการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ 3 ชนิด ได้แก่ ceftriaxone, ciprofloxacin และ ketoconazole ต่อแบคทีเรีย 4 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Shigella flexneri, Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa และ Candida albicans โดยใช้ความแตกต่างของค่า Minimum Bactericidal Concentration (MBC) หรือ ค่า Minimum Fungicidal Concentration (MFC) ที่ได้จากก่อนและหลังการทดสอบด้วย checkerboard titration เป็นดัชนีผลการทดลอง สารสกัดสมุนไพรจากหัวผักกาดและรางจืด เมื่อนามาผสมกับยาแผนปัจจุบันที่ออกฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ใช้ในการวิจัยนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเสริมฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ ทั้งยาที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียและต่อเชื้อราอย่างไรก็ตามการเสริมฤทธิ์นี้เป็นอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาต้านจุลชีพที่เลือกมาทดสอบเท่านั้น จึงน่าสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์ผลของสมุนไพรกับยาต้านจุลชีพอื่นต่อเชื้อต่างชนิด เพื่อชี้ถึงผลดีหรือผลเสียในการนาสมุนไพรมาใช้กับพร้อมกับยาแผนปัจจุบัน
abstract:
The widely application, the convenience of access, and the belief of their mildness and healthfulness promote popular use of herbs and are granted for the simultaneous use of herbal products with modern medicines. While some herbs claimed for their detoxifying effects, the versatile constituents and their actions were not recognized; therefore, the purpose of this project was to study the herb-drug interactions. The herbs Raphanussativus(RS) and Thunbergialaurifolia(TL) were extracted and were interacted with antimicrobials, namely: ceftriaxone, ciprofloxacin and ketoconazole against Escherichia coli, Shigella flexneri, Staphylococcus aureus, Pseudomomas aeruginosa and, Candida albicans. The difference of Minimum Bactericidal Concentration (MBC) or Minimum Fungicidal Concentration (MFC) before and after the checkerboard titration test was considered as the interaction index.
.