การศึกษาคุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและประสิทธิภาพการยับยั้งจุลินทรีย์

โดย: นางสาวพิชญา ฉัตรวุฒิศิริ,นางสาวสุฑามาศ สถิตย์กุล    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: ผกากรอง วนไพศาล , มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: แบคทีเรียกลุ่มแบซิลลัส, สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ, การยับยั้งราก่อโรคพืช, Bacillus sp., Biosurfactant, Antifungal activity
บทคัดย่อ:
โครงการนี้ได้ทำการคัดแยกแบคทีเรียที่สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากดินจำนวน 20 ตัวอย่างจากจังหวัดฉะเชิงเทราและนครสวรรค์ทดสอบการสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพโดยการวัดคุณสมบัติการเกิดอิมัลชัน ขนาดการกระจายตัวบนน้ำมัน microplate assay และวิธี drop collapse test จากแบคทีเรียที่คัดแยกได้จำนวน 143 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ SS11H04 เกิดอิมัลชันสูงสุดโดย สามารถสร้างอิมัลชันได้ 59% สายพันธุ์ SS1H11 ทำให้เกิดการกระจายตัวกว้างที่สุดโดยมีขนาด 12.25 ตารางเซนติเมตรได้ทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคพืชกลุ่ม Colletotrichum ผลการ ทดสอบด้วยวิธี co-cultivation พบว่าแบคทีเรียที่คัดแยกได้ สามารถยับยั้งรา C. gloeosporiodes c1060 ได้จำนวน 9 สายพันธุ์ สามารถยับยั้งรา C. gloeosporiodes d0762 ได้จำนวน 35 สายพันธุ์ และยับยั้งรา C. capsici c1511 ได้จำนวน 7 สายพันธุ์ เมื่อตรวจสอบด้วยวิธี agar well diffusion พบว่ามีเพียงสายพันธุ์ SS19H02 เท่านั้นที่สามารถที่ยับยั้งราชนิด C. capsici c1511 ได้ จำแนกชนิดของแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์ที่คัดแยกได้ ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและยับยั้งการเจริญของโดยวิเคราะห์ลำดับ 16S rRNA พบว่าสายพันธุ์ SS6H04 คือ Bacilius altitunidis สายพันธุ์ SS10H04 และ SS14H02 คือ Bacilius subtilis และสายพันธุ์ SS19H02 คือ Bacilius amyloliquefaciens จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ SS19H02 ที่คัดแยกได้นี้สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวที่สามารถยับยั้งราก่อโรคพืชได้ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้ต่อไป
abstract:
Biosurfactant producing strains were isolated from twenty soil samples collected from Chachoengsao and Nakhonsawan province. The production of biosurfactant was verified by determining emulsifying capacity as well as measuring the diameter of the oil spreading against N-hexadecane, microplate assay and drop collapse test. Among the one hundred forty-three strains, SS11H04 showed highest emulsification index with 59%. The widest diameter of the oil spreading of SS1H11 strain was 12.25 cm2. Inhibitory activity against Colletotrichum phytopathogenic fungi of the isolates was determined by co-cultivation and agar well diffusion method. Co-cultivation showed that 9, 35 and 7 isolates have inhibitory effect against C. gloeosporioides c1060, C. gloeosporiodes d0762 and C. capsici c1511, respectively. Agar well diffusion plate showed that only SS19H02 can inhibit C. capsici c1511 growth. Four isolates which capable produce biosurfactant and antifungal activity were selected to further identify by 16S rRNA sequencing. The result showed that SS6H04 was identified as Bacilius altitunidis, SS10H04 and SS14H02 were identified as Bacilius subtilis and SS19H02 was identified as Bacilius amyloliquefaciens. Results of this study are very promising as cell free broth of B. amyloliquefaciens SS19H02 exhibits biosurfactant properties and potent natural fungicide which can be further developed for industrial applications.
.