การศึกษานำร่องความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรการกระจายตัวของยา digoxin กับตัวชี้วัดเนื้อเยื่อปราศจากไขมันในร่างกายของผู้ป่วยโรคหัวใจ ล้มเหลว ในโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: รติพงศ์ นิรัติศยกุล,สุวัฒน์ สุขขี    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ธีรพงษ์ , จินตนา โมกขะเวช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: ดิจ็อกซิน, เภสัชจลนศาสตร์, การให้ยา, ระดับยา ดิจ็อกซินในเลือด, digoxin, pharmacokinetics, dosing, Serum digoxin concentration
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษานำร่องแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการสั่งหยุดยาดิจ็อกซินโดยแพทย์ กับขนาดการใช้ยาดิจ็อกซิน และระดับยาดิจ็อกซินในเลือดผู้ป่วย โดยศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วย 50 ราย พบการหยุดยาดิจ็อกซินในผู้ป่วยจำนวน 19 ราย (ร้อยละ 38) ผู้ป่วย 2 ใน 50 ราย ได้รับขนาดยาสูงกว่าขนาดยาจากการคำนวณและได้มีการหยุดยา การหาระดับยาดิจ็อกซินในเลือดในการศึกษาครั้งนี้ มีสองทางด้วย กันคือ ได้มาจากผลทางห้องปฏิบัติการและการคำนวณทางเภสัชจลนศาสตร์ ผู้ป่วยที่มีระดับยาในเลือดสูงกว่าระดับยาในช่วงการรักษา (0.8-2.0นาโนกรัมต่อมิลิลิตร) ความชุกในการหยุดยามีค่าเท่ากับ 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับยาในเลือดอยู่ในช่วงของระดับยาในช่วงการรักษา ความชุกในการหยุดยามีค่าเท่ากับ 0.39 และ 0.43 ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับยาในเลือดต่ำกว่าระดับยาในช่วงการรักษา ความชุกในการหยุดยามีค่าเท่ากับ 0.18 และ 0.31 ตามลำดับ จากการศึกษาหากผู้ป่วยได้รับขนาดยาหรือมีระดับยาในเลือดสูงกว่าค่าจากการคำ นวณจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากดิจ็อกซิน แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยาหรือระดับยาในเลือดที่เหมาะสมแล้วอาจจะมีโอกาสแสดงอาการของการเกิดพิษได้ ดังนั้นการได้รับขนาดยามากกว่าปกติ และการมีระดับยาสูงกว่าปกติ จึงไม่ใช่สาเหตุเพียง 2 อย่างเท่านั้นในการเกิดพิษ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ส่งผลต่อการเกิดเช่น ความไวของเนื้อเยื่อต่อยาดิจ็อกซิน ความไม่สมดุลของเกลือแร่ ความผิดปกติในบางอวัยวะ เป็นต้น
abstract:
This special project was a pilot retrospective study of the relationship between digoxin discontinued by physicians with the digoxin doses used and the serum digoxin concentration (SDC). In this study, the medical records were collected from 50 patients diagnosed with heart disease. The discontinuations of digoxin were found in 19 patients (38%). The 2 of 50 patients received the doses which were higher than the calculated doses, and they were 2 of 19 patients who discontinued the therapies. The SDCs in this study were determined using two methods, which were the laboratory determination, and the pharmacokinetic calculation. For the patients with higher SDCs than the recommended therapeutic range (0.8-2.0 ng/mL), the prevalences of digoxin discontinuation were 1.00. The patients whose SDCs fell in the therapeutic range, the prevalences of digoxin discontinuation were 0.39 (laboratory) and 0.43 (calculation). The patients with lower SDCs than the therapeutic range, the prevalences of digoxin discontinuation were 0.18 (laboratory) and 0.31 (calculation). The result indicated that the actual dose or the measured SDC that was higher than the calculated dose or the calculated SDC was associated with the increase risks of digoxin intoxication. However, the patients who received the appropriate doses and had appropriate SDCs may also present some clinical signs of intoxication. Therefore, the overdose and the high serum concentration were not only 2 causes of intoxication, but also there were many factors affected the intoxication.
.