ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดจากส้มต่อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

โดย: ปรียานุช กฤษณะประสิทธิ์, พรทิพย จึงถาวรรณ    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราวุธ สิทธิพิทักษ์ , ม.ล.สุมาลย์ สาระยา    ภาควิชา: ภาควิชาอาหารเคมี

Keyword: ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย,จุลินทรีย์ที่ทําให้อาหารเน่าเสีย, จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค, การบีบอัดเย็น, การกลั่นด้วยน้ำ, ส้ม, Antimicrobial activity, food-spoilage microorganisms, pathogenic microorganisms, Roller pressed, Hydrodistillation, Citrus spps.
บทคัดย่อ:
สารสกัดจากส้มเช้ง ส้มโอพันธุทองดี ส้มโอพันธุขาวน้ําผึ้ง ส้มซันคิสตและส้มเขียวหวาน ถูกนํามาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรียที่ทําใหอาหารเน่าเสียและจุลินทรียที่ทําให้เกิดโรครวม 5 เชื้อ ส้มแตละชนิดนํามาผ่านกระบวนการสกัด 2 วิธี คือ นําเปลือกส้มมาผ่านเครื่องบีบอัด (Roller pressed) ก่อนการกลั่นด้วย Hydro-distillation และอีกวิธีหนึ่งนําเปลือกส้มที่ผ่านเครื่อง บีบอัดแล้วสกัดโดยแช่ด้วยตัวทําละลาย 2 ชนิดแยกกัน คือ Ethyl acetate และ Hexane นาน 7 วัน ทดสอบสารสกัดจากทั้ง 2 กระบวนการด้วยวิธี Agar diffusion โดยมี Ampicillin เป็นสาร มาตรฐานใช้ในการเปรียบเทียบ ด้วยกระบวนการสกัดแบบแรก สารสกัดจากส้มโอพันธุทองดีและ พันธุ์ขาวน้ําผึ้ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 6538, Escherichia coli ATCC 25922, Salmonella typhimurium, Listeria monocytogenes และ Saccharomyces cerevisiae สารสกัดจากส้มเช้ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ATCC 6538, L. monocytogenes และ S. cerevisiae สารสกัดจากส้มซันคิสต มีฤทธิ์ต้านเชื้อ L. monocytogenes และ S. cerevisiae ส่วนสารสกัดจากส้มเขียวหวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ATCC 6538 และ S. cerevisiae และพบว่าสารสกัดจากส้มทุกชนิดซึ่งผ่านกระบวนการสกัดแบบที่ 2 ไม่มีฤทธิ์ต่อ เชื้อจุลินทรียชนิดใดเลย สารสกัดจากส้มทุกชนิดที่ผ่านกระบวนการสกัดแบบที่ 1 ถูกนําไปวัดค่า Refractive index และบันทึก UV-Spectra
abstract:
Extracts of five citrus spps. : Citrus sinensis, Citrus maxima Merr.-cultivar thongdee and cultivar kaonumphung, Sunkist orange and Citrus reticulata Blanco were selected for investigation of antimicrobial activity against five common food-spoilage and pathogenic microorganisms. Two processes of extraction were performed. The first process, citrus peels were subjected to roller pressed and then hydrodistillation. The second process, citrus peels after roller pressed were subjected to two solvent extractions, ethyl acetate and hexane separately for 7 days. Antimicrobial activity of citrus spps. extracts were assessed by Agar diffusion method. Ampicillin was used as positive control. By the first process of extraction, extracts of Citrus maxima Merr. ,both thongdee and kaonumphung cultivar showed growth inhibition against Staphylococcus aureus ATCC 6538, Escherichia coli ATCC 25922, Salmonella typhimurium, Listeria monocytogenes and Saccharomyces cerevisiae. Citrus sinensis extracts showed growth inhibition against S. aureus ATCC 6538, L. monocytogenes and S. cerevisiae. Inhibition against L. monocytogenes and S. cerevisiae were observed when using Sunkist orange extract. Lastly, Citrus reticulata Blanco extract was found inhibition against S. aureus ATCC 6538 and S. cerevisiae. However, no inhibition against any of the testing microorganism mentioned above was found when using citrus spps. extracts obtained the second extraction process. All citrus spps. extract obtained the first extraction process were measured for Refractive index and UV-Spectra.
.