การจัดการบริหารยาให้ผู้ป่วยในกรณีที่ได้รับยา ไม่ตรงรอบบริหารยา

โดย: นายณัฐพล วงศ์เวียงกาญจน์, นางสาวทิพย์นภา จารุจิตมณีกุล    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 51

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ , สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การบริหารยาตามวงรอบ, การบริหารยาไม่ตรงตามวงรอบ, scheduled time of drug administration, unscheduled administration
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์ประสิทธิผลการรักษาจากการปรับการบริหารยาเข้าวงรอบปกติในผู้ป่วยที่ได้รับยาครั้งแรกไม่ตรงรอบบริหารยา ดาเนินการศึกษาในโรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2557 แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการสารวจเวลาที่เป็นวงรอบการบริหารยาปกติ ส่วนที่สองเป็นการสารวจรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับที่แผนกฉุกเฉินที่ไม่ตรงวงรอบการบริหารยาปกติ และยังคงได้รับยานั้นหลังจากย้ายไปหอผู้ป่วย หลังจากนั้นจะนารายการยาที่สารวจได้มาคาดการณ์ระดับยาในเลือดโดยใช้หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์ เพื่อคาดคะเนประสิทธิผลของการรักษา ผลการศึกษาพบว่าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวงรอบการบริหารยาปกติที่เหมือนกัน เมื่อติดตามรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับจากแผนกฉุกเฉินและย้ายไปหอผู้ป่วย พบว่ามียา 12 รายการที่มีการปรับการบริหารยาให้เข้าวงรอบปกติ มีการบริหารยา amoxicillin/clavulanate, ceftriaxone, cefazolin, ceftazidime, cloxacillin, clindamycin และ meropenem ในช่วงห่างที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าวงรอบปกติในการบริหารยา จะได้ %T>MIC ซึ่งใช้คาดคะเนประสิทธิผลการรักษา ที่ยังอยู่ในระดับยาที่ให้ผลในการรักษา เช่นเดียวกับ gentamicin, ciprofloxacin, levofloxacin และ metronidazole ซึ่งคาดการณ์ประสิทธิผลการรักษาโดยใช้ Cmax/MIC หรือ AUC24/MIC ส่วน phenytoin ซึ่งเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ ที่มีการบริหารยาที่สั้นกว่าวงรอบปกติ คาดคะเนระดับยาได้สูงกว่าช่วงการรักษา สรุปได้ว่า การปรับการบริหารยาเข้าวงรอบปกติในยาที่มีช่วงการรักษากว้างที่ดาเนินการในโรงพยาบาลราชวิถี ยังคงให้ระดับยาที่ให้ผลในการรักษา ส่วนยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ อาจจาเป็นต้องใช้หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์ในการปรับวงรอบของการให้ยา
abstract:
Aim of the study was to predict the effectiveness of medication after adjusting unscheduled to scheduled administration time. This was performed during August 8th to September 7th, 2014, at Rajavithi Hospital. Firstly, scheduled time of drug administration was surveyed. Secondly, list of medication, administered at unscheduled time to patients at emergency unit and continued to the normal scheduled time at in-patient ward, was surveyed. Pharmacokinetic equations were used to calculate plasma drug concentrations and further predicted to the effectiveness. Results showed that the scheduled administration time were the same in most wards. Unscheduled administration time were adjusted with 12 medications.The predicted %T>MIC of amoxicillin/clavulanate, ceftriaxone, cefazolin, ceftazidime, cloxacillin, clindamycin, and meropenem revealed effective although the administration time were shorter or longer than the scheduled time. Same results were found for gentamicin, ciprofloxacin, levofloxacin, and metronidazole using the predicted Cmax/MIC or AUC24/MIC. Phenytoin, a narrow therapeutic drug showed the calculated plasma concentrations higher than the therapeutic range after the administration in a shorter scheduled time. It is concluded that the management of unscheduled to scheduled drug administration in Rajavithi Hospital for medication with wide therapeutic range results in therapeutic drug level, whereas for narrow therapeutics drugs, pharmacokinetic principle may be needed.
.