การศึกษาแบบย้อนหลังด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ direct oral anticoagulants ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนในประเทศไทยที่มีภาวะหลอดเลือดขาหรือปอดอุดตัน

โดย: นายเนติธร จิรเสวีนุประพันธ์,นายวรรณวัฒน์ บูรณเกียรติศักดิ์    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 51

อาจารย์ที่ปรึกษา: ลักขณา สุวรรณน้อย , ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ , จิตประภา คนมั่น , พัชรินทร์ มิตรสันติสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ, มะเร็งชนิดก้อน, ภาวะเลือดออก, ยากลุ่ม direct oral anticoagulants, Venous thromboembolism, Solid cancer, Bleeding, Direct oral anticoagulants
บทคัดย่อ:
ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งที่สำคัญ จากผลการศึกษาที่มีในปัจจุบันพบแนวโน้มว่าอาจนำ direct oral anticoagulants (DOACs) มาใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและมี VTE เป็นโรคร่วมได้ แต่จากข้อจำกัดที่ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอและไม่มีข้อมูลในประชากรไทย การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นโดยการทบทวนเวชระเบียนของโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลตำรวจย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) โดยติดตามผู้ป่วยแต่ละคนเป็นเวลา 12 เดือนหลังได้รับ DOACs ผลการศึกษาพบผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำและได้รับยาในกลุ่ม DOACs ได้แก่ rivaroxaban, apixaban และ dabigatran จำนวนทั้งหมด 32 คน พบอุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำของ VTE ที่ 6 เดือนหลังได้รับยาในผู้ป่วย 4 คน (ร้อยละ 12.5) รวมถึงพบการเกิดเลือดออกโดยแบ่งเป็นการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรง 6 คน (ร้อยละ 18.75) และไม่รุนแรง 12 คน (ร้อยละ 37.5) ตามลำดับ โดยภาวะเลือดออกรุนแรงพบภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ 1 ราย (ร้อยละ 3.13) ทั้งนี้ยังไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของ VTE และการเกิดเลือดออก ข้อสรุปจากการศึกษานี้พบว่ายากลุ่ม DOACs อาจมีประสิทธิภาพในการลดการกลับเป็นซ้ำของ VTE แต่ประชากรไทยอาจมีข้อควรระวังจากแนวโน้มการเกิดเลือดออก
abstract:
Venous thromboembolism (VTE) is an important cancer complication. Recent studies suggest direct oral anticoagulants (DOACs) may be an alternative for VTE treatment in this population; nonetheless, there is limited evidence to support this decision in Thai cancer patients. This study was a retrospective chart review from Ramathibodhi hospital and Police general hospital during the past 5 years (2013-2017), Data were collected for 12 months after initiating the DOACs. There were 32 cases, who received rivaroxaban, apixaban, or dabigatran, recruited to this study. We reported 4 cases (12.5%) of recurrent VTE at 6-month. The bleedings appeared in 6 patients (18.75%), 12 patients (37.5%), and 1 patient (3.13%) for major bleeding, minor bleeding and intracranial hemorrhage consecutively. There was no factors associated with recurrent VTE or bleeding from our study. In conclusion, DOACs may be an effective option in reducing VTE recurrence. However, Thai population may be potentially prone to have bleeding.
.