ผลของใบแป๊ะก๊วยต่อการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงส่วนปลาย

โดย: มาลินี ชลนากุล,สุชาดา ฟักทอง    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 53

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ใบแป๊ะก๊วย, การไหลเวียนเลือด,
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ของใบแป๊ะก๊วยต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายในหนูขาว โดยป้อนสารสกัดใบแป๊ะก๊วยขนาด 12.5, 25 และ 50 มก./กก./วัน หรือ ยา Pentoxifylline ขนาด 200 มก./กก./วัน ติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ วัดปริมาณการไหลเวียนเลือดที่บริเวณฝ่าเท้าของหนูขาวก่อนการป้อนสาร (สัปดาห์ที่ 0) และหลังจากป้อนสารครบ 1, 3, 9 และ 12 สัปดาห์ตามลำดับ พบว่า สารสกัดใบแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์เพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดที่ฝ่าเท้าของหนูขาว โดยแปรผันโดยตรงกับขนาดของสารสกัดคือ ขนาด 25 มก./กก/วัน. ทำให้ปริมาณการไหลเวียนเลือดที่ฝ่าเท้าของหนูขาวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 0 อย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 12 ประมาณ 60% (Pน้อยกว่า 0.05) และเมื่อให้ในขนาดที่สูงขึ้นเป็น 50 มก./กก./วัน พบว่าปริมาณการไหลเวียนเลือดเริ่มเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ประมาณ 63% อย่างมีนัยสำคัญ (p น้อยกว่า 0.05) และยังคงแสดงผลเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดอย่างต่อเนื่องไปตลอดการทดลอง โดยเพิ่มประมาณ 67% และ 60% ในสัปดาห์ที่ 9 และ 12 ตามลำดับ (p น้อยกว่า 0.05) ส่วนยา Pentoxifylline ไม่สามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ฝ่าเท้าหนูได้
abstract:
Ginkgo biloba, peripheral blood flow The effect of repeated oral administration of Ginkgo biloba leaf extract on peripheral blood flow was studied in male Wistar rats. The extract at various doses (12.5, 25 and 50 mg/kg/day) or pentoxifylline (200 mg/kg/day) was administered to animals for 12 weeks. Plantar blood flow was measured before and 1, 3, 9 and 12 weeks after drug administration. The results showed that the extract (12.5 - 50 mg/kg/day) raised plantar blood flow in a dose dependent manner. Plantar blood flow significantly increased by about 60% (P less than0.05) at 12 weeks after the administration in a group of rats receiving 25 mg/kg/day extract and by about 63% (P less than0.05) at 3 weeks in those receiving 50 mg/kg/day extract. The rise in blood flow in a high dose of the Ginkgo biloba-treated group was observed throughout the experiment. It significantly increased by about 67% and 60%(P less than 0.05) at 9 and 12 weeks, respectively. In contrast, pentoxifylline had no affect on peripheral blood flow.
.