ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือ

โดย: มนัญญา เนินทราย,ศุภศร ภู่เอี่ยม    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 53

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: มะแว้งเครือ, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, Solanum trilobatum L., Mawaeng krue, Anti-inflammatory activity
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลมะแว้งเครือในหนูขาว โดยทดสอบ ประสิทธิภาพของส่วนสกัดด้วยน้ำ ส่วนสกัดด้วยเอทานอล 95% และส่วนสกัดด้วยเอทานอล 95 % ผสมกรดไฮโดรคลอริกในอัตราส่วน 10 : 1 ในการลดการบวมของฝ่าเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยคาราจีแนน พบว่าส่วนสกัดทั้ง 3 วิธี ที่ขนาด 400 มก./กก. แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบหลังการฉีดคาราจีแนนในชั่วโมงที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนที่สกัดด้วยน้ำและส่วนที่สกัดด้วยเอทานอล 95% ที่ขนาด 600 มก./กก. แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบหลังการฉีดคาราจีแนนในชั่วโมงที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ส่วนสกัดด้วยเอทานอล 95 % ผสมกรดไฮโดรคลอริกขนาด 600 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบหลังการฉีดคาราจีแนนในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 ตลอดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับการให้สารมาตรฐานสำหรับลดการอักเสบ (ไดโคลฟีแนค 10 มก./กก.) โดยส่วนสกัดด้วยเอทานอล 95 % ผสมกรดไฮโดรคลอริกมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ 79, 66, 51 และ 56 % และฤทธิ์ยับยั้งของไดโคลฟีแนคได้ 90, 86, 68 และ 65 % ในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาทางพฤกษเคมีพบว่าสารสกัดของผลมะแว้งเครือทั้ง 3 ส่วนสกัด พบสารกลุ่ม steroids, alkaloids และ saponin รวมทั้งได้มีการบันทึก TLC pattern ของสารสกัดทั้ง 3 ส่วน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาวิจัยต่อไป
abstract:
The anti-inflammatory effect of Solanum trilobatum L. (S. trilobatum) or “Mawaeng krue” fruit extract was studied in carrageenan induced hind paw edema model in rats. Oral administration of S. trilobatum water extract and ethanol extract (400 mg/kg and 600 mg/kg) significantly suppressed the paw edema induced by carrageenan injection in dose dependent manner (P<0.05). Both extracts showed anti-inflammatory effect for only a few hours (1-2 hours). S. trilobatum obtained from 95 % ethanol : HCl (10 : 1) at doses of 400 and 600 mg/kg also exhibited a significantly reduced the paw edema throughout a period of study for 4 hours (P<0.05). This result is similar to the effect of diclofenac (10 mg/kg), a reference drug. The TLC pattern of these extracts and constituents were also recorded for further study.
.