อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจที่ได้รับไทกิซัยคลินในหอผู้ป่วยวิกฤต

โดย: นายภาณุพงศ์ ถิระภาคภูมิอนันต์,นายรวีภัทร์ อนรรฆเมธี    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 55

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , พิชญา ดิลกพัฒนมงคล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ไทกิซัยคลิน, ปอดอักเสบที่เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ, หอผู้ป่วยวิกฤต, Tigecycline, Ventilator-associated pneumonia, ICU
บทคัดย่อ:
การศึกษาหลายฉบับพบว่าการใช้ไทกิซัยคลินในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาดังกล่าวในโรงพยาบาลรามาธิบดี โครงการพิเศษนี้จึงจัดทาขึ้นเพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจที่ได้รับยาไทกิซัยคลินเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะอื่น โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยที่คัดเข้าการศึกษามีจานวน 126 ราย แบ่งเป็นกลุ่มไทกิซัยคลิน 80 ราย และกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะอื่น 46 ราย ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มต่างกัน จึงทาการสุ่มโดยจับคู่ข้อมูลด้วยค่า APACHE II ได้จานวนผู้ป่วยกลุ่มละ 41 ราย พบอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มไทกิซัยคลินสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะอื่นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (ร้อยละ 73.20 และ 46.30 ตามลาดับ, P=0.013) และระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มไทกิซัยคลินสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะอื่นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (46.99 วัน และ 30.24 วัน ตามลาดับ, P=0.004) โดยสรุปคือ การใช้ไทกิซัยคลินเพิ่มอัตราการเสียชีวิตและระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะอื่น อย่างไรก็ตาม ควรมีการเก็บข้อมูลเป็นจานวนมากขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่ออัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับไทกิซัยคลินต่อไป
abstract:
Several studies have shown that the use of tigecycline was significantly associated with increased risk of all-cause mortality. The increase was greatest for ventilator-associated pneumonia (VAP) patients. However, there have not been any studies showing such correlation at Ramathibodi Hospital. The purpose of this study was to investigate the mortality rate and the length of hospital stay of VAP patients receiving tigecycline compared with other antibacterial agents. We reviewed the medical records of patients admitted to intensive care units, during 2007 and 2015. There were 126 patients; 80 patients for tigecycline group and 46 patients for non-tigecycline group. Since baseline characteristics were different between two groups, we selected only 41 patients in each group with matched APACHE II score. We found that the mortality rate of tigecycline group was significantly higher than non-tigecycline group (73.20% and 46.30% respectively, P=0.013). The median length of hospital stay was also significantly higher in tigecycline group than non-tigecycline group (46.99 days and 30.24 days, respectively, P=0.004). In conclusion, the use of tigecycline in VAP patients increased the mortality rate and the length of hospital stay compared with the use of other antibacterial agents. However, further studies are required to determine which factors are related to mortality in tigecycline group.
.