ผลของการแพทย์ดั้งเดิมในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

โดย: นาย ชญานิน ตาปนานนท์,นาย ธนพล อธิประยูร    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 55

อาจารย์ที่ปรึกษา: ฟ้าใส จันท์จารุภรณ์ , เสาวลักษณ์ ดุรงคราวี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การแพทย์แผนไทย, การแพทย์ดั้งเดิม, การส่งเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรค, ระบบประกันสุขภาพ, Thai traditional medicine, Traditional medicine, Health promotion , Disease prevention
บทคัดย่อ:
การสนับสนุนและส่งเสริมการแพทย์ดั้งเดิมร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากความเป็นไปได้ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลงซึ่งจะสร้างความยั่งยืนให้กับระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ อย่างไรก็ตามอุปสรรคสาคัญคือความเชื่อมั่นของผู้สั่งใช้และอาจรวมถึงผู้ป่วยด้วย โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแพทย์ดั้งเดิมในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยทาการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2560 ได้แก่ PUBMED, SCOPUS, ScienceDirect, โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก คาที่ใช้ในการสืบค้นประกอบด้วย traditional medicine, complementary medicine, alternative medicine, oriental medicine, health prevention, disease prevention, การแพทย์ดั้งเดิม, การแพทย์แผนไทย, การแพทย์แผนตะวันออก และ การแพทย์ทางเลือก มีงานวิจัย 17 ชิ้น ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งไว้ โดยงานวิจัยร้อยละ 88 ระบุว่าการแพทย์ดั้งเดิมมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมีนัยสาคัญในการช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียดและให้ผลที่ดีในเชิงป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแพทย์ดั้งเดิมให้ผลลัพธ์ที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพและในเชิงป้องกันโรคและควรสนับสนุนให้นาเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพภาครัฐของประเทศไทยต่อไป
abstract:
Supporting and promoting the use of traditional medicine together with modern medicine is one of the interesting approaches today. This approach has potential to reduce the health expenditure and so could result in a more sustainable health insurance system. However, the major obstacle to this approach is the confidence of patients and physicians. The aim of this special project is to study the role of traditional medicine in the health promotion and disease prevention in the health systems of different countries. The findings from this study would be beneficial when adapting to the context of Thailand. This systematic review was carried out through major electronic databases in both Thailand and overseas namely; PUBMED, SCOPUS, ScienceDirect, Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) and other source of information namely; Health Systems Research Institute (HSRI), Journal of the Medical Association of Thailand, National Health Security Office (NHSO) and WHO website. Publications included in the review were published during 2007 to 2017. The search terms used were traditional medicine, complementary medicine, alternative medicine, oriental medicine, Eastern medicine, health promotion and disease prevention. The study revealed 17 publications that met the selection criteria. Of that, 88% found that traditional medicine significantly provided health benefits in relaxation, stress reduction and revealed preventive effects for diabetes, cardiovascular disease, dementia and acute myocardial infarction. In conclusion, it is evident that traditional medicine is beneficial in health promotion and disease prevention. Hence, it should be supported and introduced into the health insurance system of Thailand
.