การปฏิบัติตามข้อแนะนำในการรักษาปอดอักเสบชุมชนของแพทย์ที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: ขวัญดาว ผู้เลื่องลือ, ธนาณัติ เหลืองสุบิน    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 56

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข , เล็ก รุ่งเรืองยิ่งยศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โรคปอดอักเสบชุมชน, แนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน, การปฏิบัติของแพทย์, Community Acquired Pneumonia, Physician Adherence, Guideline
บทคัดย่อ:
โรคปอดอักเสบชุมชน เป็น 1 ใน 5 อันดับของโรคติดเชื้อที่มีอัตราการตายสูง การรักษาที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มอัตราการตายของผู้ป่วย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และยังอาจทำให้เกิดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ การศึกษานี้เป็นการประเมินความสอดคล้องของกระบวนการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนกับแนวทางการรักษามาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีในปี พ.ศ. 2548 จำนวนทั้งสิ้น 134 คน ทำการประเมินการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานทั้งในด้านกระบวนการรักษา การตัดสินใจรับเข้ารักษา และการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ เพื่อทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์สุดท้ายในระยะเวลา 30 วัน คือ การตายและอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง ผลการศึกษาพบว่าในจำนวนผู้ป่วย 134 คน มีเพียง 2 คนที่ได้รับการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานในการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชน ทั้งในด้านการวินิจฉัยโรค การตัดสินใจเลือกกระบวนการรักษา และการใช้ยาต้านจุลชีพ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์วัดที่ 30 วันพบว่าไม่มีการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ในทางตรงข้าม ผู้ป่วยที่ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากแนวทางมาตรฐานจำนวน 132 คน มีผู้เสียชีวิต 3 คน เมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของอาการที่ดีขึ้น พบว่า กลุ่มที่ปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานมีอาการดีขึ้นทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มที่ปฏิบัติแตกต่างไปจากแนวทางมาตรฐานมีผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นจำนวน 5 คน โดยสรุปงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานการรักษาโรคน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิต และเพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนส่วนใหญ่ที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน.
abstract:
Community Acquired Pneumonia is one top five infectious diseases having high mortality rate. With the inappropriate care, it might increase mortality rate, medical expense, and change resistance spectrum to antimicrobial agents. The purpose of this study is to evaluate physician practice at Department of Emergency Medicine at Ramathibodi Hospital and compare outcomes between actual daily practice and adherence to standard treatment guidelines of Community Acquired Pneumonia. All subjects were retrospectively reviewed from medical charts of the year 2005 with a total of 134 samples. The physician adherence was evaluated both process of care including diagnostic procedures, and antimicrobial drugs use to observe ultimate outcome as death and improving of signs and symptoms over 30-day period. We found only 2 out of 134 samples that physicians followed standard treatment guidelines of Community Acquired Pneumonia and both patients survived after 30-day period. Instead, of 132 patients that the physicians did not adhere to standard guidelines, 3 patients died at 30-day period. Regarding improving of signs and symptoms, all patients followed with standard care had improvement over 30-day period, while 5 out of 132 patients who were not treated with standard care had worse prognosis. In conclusion, the physician adherence to best practice guideline reduces mortality rate and increases the ratio of patients with improving clinical outcome. Besides, there is no standard guideline/pattern of CAP treatment at Emergency Department at Ramathibodi Hospital.
.