การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการรักษาในผู้ป่วยที่ใช้ยาแวนโคมัยซินระหว่างการติดตามอัตราส่วนของค่าพื้นที่ใต้กราฟของความเข้มข้นของยาในเลือดกับเวลากับความเข้มข้นต่าที่สุดที่ใช้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกับการติดตามระดับยาต่าสุด

โดย: นางสาวธัญพร เลิศวรรณเอก,นายธีรพงษ์ บูรณะประเสริฐสุข    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 56

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปรีชา มนทกานติกุล , จันทนา ห่วงสายทอง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: แวนโคมัยซิน, AUC/MIC, ผลลัพธ์ในการรักษา, การเสียชีวิต, vancomycin, AUC/MIC, outcome, mortality
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบันเราพบว่าระดับยาแวนโคมัยซินที่ต่าสุดเป็น 15-20 mg/L ไม่สามารถทาให้ค่า AUC/MIC มากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซึ่งค่านี้จะเป็นดัชนีชี้วัดในการทานายประสิทธิผลทางคลินิกของยาแวนโคมัยซิน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการรักษาด้วยยาแวนโคมัยซินระหว่างการติดตาม AUC/MIC และระดับยาต่าสุด การศึกษานี้เป็นแบบ retrospective cohort ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาแวนโคมัยซินในปี พ.ศ. 2557-2558 ผลลัพธ์ได้แสดงการรวบรวมผู้ป่วยเข้าสู่งานวิจัยนี้เป็นจานวน 93 คน โดยแบ่งเป็น 15 และ 78 คน ที่ได้รับการติดตาม AUC/MIC และระดับยาต่าสุด ตามลาดับ โดยพบว่าการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการติดตาม AUC/MIC และระดับยาต่าสุด (3.3% และ 16.3%; P-value = 1.000) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ และการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการติดตาม AUC/MIC และระดับยาต่าสุด (5.6% และ 22.2%; P-value = 1.000) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ผลสรุปจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการรักษาด้วยยาแวนโคมัยซินระหว่างการติดตามที่แตกต่างกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญในทางคลินิก อย่างไรก็ตามผลสรุปดังกล่าวยังต้องการการศึกษาที่มีขนาดตัวอย่างมากขึ้นมาสนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว
abstract:
Nowadays, we have found that vancomycin trough concentration of 15-20 mg/L cannot achieve an AUC/MIC ratio ≥ 400, which is a predictive index for clinical effectiveness of vancomycin. The objective of this study was to compare treatment outcomes of vancomycin between monitoring AUC/MIC and trough concentration. This was a retrospective cohort study of patients treated with vancomycin from 2014-2015. The results showed that 93 patients were included in the study whose 15 and 78 patients were monitored by AUC/MIC and trough concentration, respectively. There was no significant difference in all-cause mortality between patients who were monitored by AUC/MIC and ones by trough concentration (3.3% vs 16.3%; P-value = 1.000) and Infection-related mortality between ones by AUC/MIC and ones by trough concentration (5.6% vs 22.2%; P-value = 1.000). In conclusion, comparison of treatment outcomes in patients who took vancomycin, by using different methods were not significantly different in clinical practice. However, further larger sample size studies are needed to confirm the results.
.