การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อประเมินผลการตั้งครรภ์ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

โดย: นางสาวตวงทิพย์ เอมอยู่,นายทัตพงศ์ ตรีอินทอง    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 57

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , ครรชิต ลิขิตธนะสมบัติ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาวาร์ฟาริน, การตั้งครรภ์, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาวาร์ฟาริน, การตั้งครรภ์
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการศึกษาเวชระเบียนแบบย้อนหลังเพื่อประเมินผลการตั้งครรภ์ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดระหว่างตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีในช่วงปี พ.ศ. 2548 –2557 ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือกจานวน45 คน คิดเป็นการตั้งครรภ์ 48 ครั้งมีค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 32.3+6.3 ปี ข้อบ่งใช้ยาวาร์ฟารินที่พบมาก3 อันดับแรกได้แก่ โรคลิ้นหัวใจพิการ/ลิ้นหัวใจเทียม (ร้อยละ 47.9) โรคก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดา (ร้อยละ 31.3) โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ (ร้อยละ 25) จานวนครั้งในการตั้งครรภ์เฉลี่ยเท่ากับ 2.3+1.1 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 48 ครั้ง สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้ป่วยที่สัมผัสวาร์ฟารินตลอดจนอายุครรภ์>6 สัปดาห์ 31 ครั้ง และผู้ป่วยที่สัมผัสวาร์ฟารินในช่วงอายุครรภ์<6 สัปดาห์และ/หรือได้รับยากลุ่ม heparins(จัดเป็นกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัสวาร์ฟาริน)17 ครั้ง โดยพบว่าอัตราการการแท้ง ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือทารกพิการเท่ากับร้อยละ 20.8 ในกลุ่มสัมผัสวาร์ฟาริน และร้อยละ 0 ในกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัสวาร์ฟาริน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (RR 1.48; 95% CI: 1.16-1.88; p = 0.009) ผลการตั้งครรภ์ของผู้ป่วยที่สัมผัสวาร์ฟารินขนาดต่า (น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม) และขนาดสูง (มากกว่า 5 มิลลิกรัม) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติและพบว่าผู้ป่วยมีการวางแผนตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 35 และไม่วางแผนตั้งครรภ์หรือไม่มีข้อมูลถึงร้อยละ58 โดยสรุปแล้วจึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ควรตระหนักถึงความสาคัญในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ระหว่างได้รับยาวาร์ฟาริน
abstract:
This retrospective study was conducted to assess the effect of anticoagulant therapy on outcome of pregnancy in Ramathibodi hospital during 2005 – 2014. 45 patients with 48 pregnancies were included in the data analysis which mean age was 32.3+6.3 year-old.The most common indications for using warfarin were valvular heart disease (47.9%), Venous thromboembolism (31.3%) and autoimmune disease (25%). Mean times of pregnancy was2.3+1.1. From 48 pregnancies, 31 pregnancies were classified into warfarin exposed group and 17 pregnancies in non-warfarin exposed group. Abnormalities of pregnancy such as abortion, intrauterine death or birth defect were 20.8% and 0% in warfarin exposed group and non-warfarin exposed group. Warfarin exposure status and outcome of pregnancy was statistically significant between two group (RR 1.48; 95% CI: 1.16-1.88; p = 0.009). Outcome of low dose warfarin exposure (<5 mg) and high dose warfarin exposure (>5 mg) were significantly different. Our study found that there were only 35% of patients had family planning, whereas 58% were no data and no family planning. So,In summary, education for contraceptive in patients receiving warfarin is important for healthcare providers to be concerned.
.