ความพร้อมการให้บริการยากันชักของโรงพยาบาลในประเทศไทย

โดย: นายตะวัน สืบจากอินทร์,นายนราธิป พุ่มกุมาร    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 59

อาจารย์ที่ปรึกษา: ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ความพร้อม, ยากันชัก, โรงพยาบาลรัฐบาล, ประเทศไทย, Service availability, Antiepileptic drugs, Public hospital, Thailand
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้จัดทาขึ้นเพื่อประเมินความพร้อมการให้บริการยากันชักของโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยทาการโทรศัพท์สัมภาษณ์เภสัชกรของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ถึง 31 มกราคม 2559 จานวน 653 แห่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 73 ของโรงพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดของประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่ามีโรงพยาบาล 488 แห่ง ที่มียากันชักพื้นฐานครบทั้ง 4 ชนิด (ได้แก่ phenytoin, phenobarbital, carbamazepine และ sodium valproate) คิดเป็นร้อยละ 75 ของโรงพยาบาลที่เก็บข้อมูลได้ โดยโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปมียากันชักพื้นฐานครบทุกโรงพยาบาล สาหรับโรงพยาบาลชุมชน (537 แห่ง) และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (11 แห่ง) มียากันชักพื้นฐานครบ คิดเป็นร้อยละ 70 และ 82 ตามลาดับ เมื่อพิจารณายาฉีดสาหรับสภาวะชักต่อเนื่อง พบว่าทุกโรงพยาบาลมียาฉีดกันชักพื้นฐาน คือ diazepam injection ครบทุกโรงพยาบาล ส่วนยากันชักเสริม (clonazepam, gabapentin, pregabalin) พบว่ามีให้บริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปมากกว่าโรงพยาบาลชุมชน สาหรับยากันชักกลุ่มใหม่ พบว่ายังคงมีให้บริการเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น
abstract:
The aim of this research was to assess the service availability of antiepileptic drugs (AEDs) of hospitals in Thailand. Hospital pharmacists of regional hospitals, general hospitals, community hospitals and university hospitals were interviewed by telephone during December 2015 to January 2016. There were 653 hospitals participated in this survey (73% of all public hospitals in Thailand). The results revealed that 488 hospitals (75%) had all 4 basic AEDs (which were phenytoin, phenobarbital, carbamazepine and sodium valproate). All regional hospitals and general hospitals had all 4 basic of AEDs while they were found only in 537 community hospitals and 11 university hospitals (70% and 82%, respectively). Diazepam injection, a basic AEDs for treatment of status epilepticus, was found in all hospitals. For additional AEDs (clonazepam, gabapentin, pregabalin), they were available in regional hospitals, general hospitals and university hospitals more than in community hospitals. Concerning about new AEDs, they were available only in some regional hospitals, general hospitals and university hospitals.
.