การศึกษาการปลดปล่อยตัวยาจากฟลูโอซิโนโลนและอะซิโตไนด์เจล

โดย: นันท์สินี เปรื่องชนะ,ภาณุวัฒน์ เพ็ญสว่างวัธน์    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , อำพล ไมตรีเวช , ณัฐนันท์ สินชัยพานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ฟลูโอซิโนโลนอะเซโตไนด์ , การปลดปล่อยตัวยา, สารก่อเจล, เจล, Fluocinolone acetonide, Release, Gelling agent, Gel
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนา Fluocinolone acetonide gel 0.1% ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการปลดปล่อยตัวยาที่ดี เพื่อใช้ในการรักษาโรค oral lichen planus โดย การเตรียมเจลจากสารก่อเจล 4 ชนิด ได้แก่ Carbopol 934P, Poloxamer 407, Sodium carboxymethylcellulose (CMC) และ Hydroxyethylcellulose (HEC) แล้วนำเจลที่ได้มา ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ จากการศึกษาพบว่าเจลที่เตรียมจาก Carbopol 934P 1%, Poloxamer 407 15%, CMC 2% และ HEC 1.5% ให้เนื้อเจลที่เนียนใส สวยงาม น่าใช้ และมีความหนืดเหมาะสม เมื่อเตรียม Fluocinolone acetonide gel 0.1% ในสารก่อเจลด้วยความเข้มข้นดังกล่าว และนำไปวิเคราะห์ตัวยาสำคัญในเจลโดยวิธีการที่ดัดแปลงจากวิธีวิเคราะห์ของFluocinolone acetonide cream ตาม เภสัชตำรับของอเมริกา (USP XXIV) พบว่า Fluocinolone acetonide gel 0.1% ทุกสูตรมีปริมาณของตัวยาสำคัญผ่านมาตรฐานตามเภสัชตำรับของอเมริกา (USP XXIV) จากการศึกษาเปรียบเทียบการปลดปล่อยตัวยาผ่าน cellulose acetate membrane โดยใช้ Franz diffusion cell และใช้ phosphate buffer pH 7.4 เป็น receptor medium พบว่าเจลของ Poloxamer 407 มีแนวโน้มการปลดปล่อยตัวยาเร็วที่สุด ในขณะที่เจลของ CMC มีแนวโน้มการปลดปล่อยตัวยาที่ช้าที่สุด และเจลของ HEC มีการปลดปล่อยตัวยาในระดับปานกลาง สำหรับเจลของ Carbopol 934P มีการปลดปล่อยตัวยาได้ดีพอๆกับ Poloxamer 407 ในช่วงเวลา 30 นาทีแรก แต่มีแนวโน้มการปลดปล่อยตัวยาที่ช้าลงจนไม่แตกต่างกับ CMC ในช่วงเวลา 120-360 นาที ดังนั้นประสิทธิภาพในการปลดปล่อยตัวยาสำคัญในสารก่อเจลต่างๆ เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้คือ Poloxamer 407 > HEC > Carbopol 934P > CMC
abstract:
The purpose of this special project was to develop 0.1% fluocinolone acetonide gel for the treatment of oral lichen planus, which had good appearance and fast release. Gels were prepared from four gelling agents which were Carbopol 934P, Poloxamer 407, Sodium carboxymethylcellulose (CMC) and Hydroxyethylcellulose (HEC), and evaluated their physical properties. The results showed that the gels prepared by using 1% Carbopol 934P, 15% Poloxamer 407, 2% CMC and 1.5% HEC, and were clear with good appearance and consistency. Consequently, 0.1% Fluocinolone acetonide gels in the four gelling agents were prepared and analyzed for the drug content according to the modified analysis method of Fluocinolone acetonide cream from USP XXIV. It was found that % drug content in all gels met the requirement of USP XXIV. Furthermore, the drug release from the gels through cellulose acetate membrane was studied by using franz diffusion cell and phosphate buffer pH 7.4 as receptor medium. The results revealed that the drug release from Poloxamer 407 was the fastest whereas that from CMC was the slowest. The drug release from HEC was between those from Poloxamer 407 and CMC. The drug release from Carbopol 934P was comparable to that from Poloxamer 407 during the first 30 minutes; however, it became as slow as that from CMC during 120-360 minutes. In conclusion, the efficacy of drug release from gelling agent was in the following descending order: Poloxamer 407 > HEC > Carbopol 934P > CMC .
.