การศึกษาการแตกตัวในหลอดทดลองของเม็ดยาบิสฟอสโฟเนตที่มีจาหน่ายในประเทศไทย

โดย: นางสาวกัณฐพร เฮงษฎีกุล,นายสุกฤษฏิ์ สรรพศรี    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 60

อาจารย์ที่ปรึกษา: ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ , จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ , วิชิต โนสูงเนิน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: บิสฟอสโฟเนต ระยะเวลาเริ่มการแตกตัว การทดสอบการแตกตัว, Bisphosphonate, Onset time of disintegration, Disintegration test
บทคัดย่อ:
จุดประสงค์ของการทาวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาเริ่มแตกตัวและความเป็นกรดที่ปลดปล่อยออกมาจากตัวยาหลังจากเม็ดยาเริ่มแตกตัวจนถึงระยะเวลาที่เม็ดยาแตกตัวหมดในหลอดทดลองของเม็ดยา alendronate แต่ละยี่ห้อเปรียบเทียบระหว่างยาต้นแบบกับยาสามัญที่มีจาหน่ายในประเทศไทย โดยแบ่งวิธีการทดสอบออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การทดสอบการแตกตัวของเม็ดยาตามวิธีของ USP และทดสอบหาความเป็นกรดของยาโดยวิธี pH meter และ pH-indicator strip ผลการทดลอง พบว่ายา Fosamax PlusTM, ยาสามัญยี่ห้อ X, Y และ Z มีระยะเวลาเริ่มแตกตัวที่ 5.33, 8.00, 2.67 และ 12.00 วินาที ตามลาดับ และเม็ดยาแตกตัวสมบูรณ์ที่ 285.00, 252.00, 181.67 และ 63.67 วินาที ตามลาดับ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นกรดของยาหลังเกิดการแตกตัว พบว่าเมื่อใช้วิธี pH meter ยาแต่ละยี่ห้อมีค่า pH ลดลงเฉลี่ยจาก 6.1 เป็น 5.3, 6.0 เป็น 4.8, 6.1 เป็น 5.4 และ 5.9 เป็น 5.1 ตามลาดับ แต่เมื่อวัดความเป็นกรดโดยใช้วิธี pH-indicator strip พบว่ามีค่า pH ลดลงเฉลี่ยจาก 6.7 เป็น 6.1, 6.6 เป็น 6.2 และ 6.6 เป็น 6.4 สาหรับยา Fosamax PlusTM, ยาสามัญยี่ห้อ Y และ Z ตามลาดับ ส่วนยาสามัญยี่ห้อ X กลับมีค่า pH เพิ่มขึ้นจาก 6.5 เป็น 7.4
abstract:
The aim of this project was to study and compare disintegration time and acidity which released from the disintegrated tablet after onset time of disintegration to complete disintegration of original and generics brand of alendronate available in Thailand. Study method was divided into 2 parts which were disintegration test by USP method and examination of acidity by pH meter and pH-indicator strip. The result revealed that onset time of disintegration of Fosamax PlusTM, generic brand X, Y and Z were 5.33, 8.00, 2.67 and 12.00 seconds, respectively. Disintegration time of these products were 285.00, 252.00, 181.67 and 63.67 seconds, respectively. Concerning about acidity after disintegration, average change of pH from each brand by using pH meter were 6.1 to 5.3, 6.0 to 4.8, 6.1 to 5.4 and 5.9 to 5.1, respectively. For pH-indicator strip method, average change of pH of Fosamax PlusTM, generic brand Y and Z were 6.7 to 6.1, 6.6 to 6.2 and 6.6 to 6.4. For generic brand X, average pH was increased from 6.5 to 7.4.
.