การประเมินคุณค่าของงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกของอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: นายบุณยภัทร มนต์สัตตา    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 61

อาจารย์ที่ปรึกษา: ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ , พัชรินทร์ สุภาพโสภณ , นิติ โอสิริสกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: value proposition, งานบริการเภสัชกรรม, Snack bars, Mangosteen, Sensory evaluation
บทคัดย่อ:
การพัฒนางานบริการเภสัชกรรมควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และมีความจำเป็นที่จะต้องจัดลำดับก่อน-หลังของงานที่จะต้องพัฒนา งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินการให้คุณค่างานบริการเภสัชกรรมในมุมมองของเภสัชกรผู้ปฎิบัติงาน โดยใช้แบบสอบถามที่ใช้แนวคิดเรื่อง value prosposition และ importance-performance เพื่อประเมินคุณค่าและประสิทธิภาพของงาน โดยทำการประเมินสี่มิติ คือ “สภาพแวดล้อมห้องยา”, “ระบบการให้บริการ”, “พนักงานผู้ให้บริการ (ที่มิใช่เภสัชกร)” และ “การให้บริการของฝ่ายเภสัชกรรม” และใช้ระบบคะแนน 1-4 เพื่อประเมิน โดยให้ 4คะแนนคือ “สำคัญมาก/ดีมาก”, 3คะแนน คือ “สำคัญ/ดี”, 2คะแนน คือ “สำคัญน้อย/ค่อนข้างแย่” และ 1คะแนน คือ “ไม่สำคัญ/แย่มาก” แจกแบบสอบถามในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ.2558 กลุ่มประชากรเป็นเภสัชกรผู้ปฎิบัติงาน ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ทุกคน คือ 56 คน ได้ผลการตอบรับ 48 คน (85.71%) พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านประสิทธิภาพและความสำคัญของหัวข้อ ”สภาพแวดล้อมห้องยา”, “ระบบการให้บริการ”, “พนักงานผู้ให้บริการ (ที่มิใช่เภสัชกร)” และ “การให้บริการของฝ่ายเภสัชกรรม” คือ (2.93,3.64), (2.92,3.63), (2.89,3.65), (3.25,3.76) ตามลำดับ พบว่าความสำคัญของแต่ละด้านไม่แตกต่างกันมาก แต่ด้านที่มีคะแนนประสิทธิภาพตํ่าที่สุดคือ “พนักงานผู้ให้บริการ (ที่มิใช่เภสัชกร)”และมีงานที่มีความสำคัญมาก แต่ประสิทธิภาพตํ่า 1 งานคือ “มีการประกันระยะเวลาในการรอรับบริการแต่ละจุด” ในมิติระบบการให้บริการ ซึ่งเป็นช่องทางในการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมให้ดีขึ้นได้ การศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเอกสารรับรองเลขที่ 2558/623
abstract:
Out-patient pharmacy service should be improved continuously with regard to priority setting. The objective of this research was to assess the importance and value assigned to out-patient pharmacy services in the perspective of providers. The questionnaire constructed under the concept of value proposition and importance-performance was employed. Four dimension of pharmacy service were assessed as: environment, service system, service provider (non-pharmacist), and pharmacy service. Score 1 to 4 were used to express different idea as: 4 = most importance/best performance, 3 = importance/good performance, 2 = less importance/less performance, and 1= least importance/least performance. The questionnaire was distributed during November and December 2015 to all 56 pharmacist working at the pharmacy department, Dheparatana building. The response rate was 85.71% The importance/performance average scores of environment, service system, service provider (non-pharmacist), and pharmacy service were (2.93,3.64), (2.92,3.63), (2.89,3.65), (3.25,3.76) respectively. The importance scores were not much different, but the least performance score and the poor performance and very important service which is “service provider (non-pharmacist)” and “Guarantee waiting time in each service center” should be improved. This research was approve by the Ethical Committee for research in human, Ramathibodhi Hospital with the approval document number 2558/623.
.