การค้นหาปัญหาจากการใช้ยาโดยใช้ เครื่องมือส่งสัญญาณในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

โดย: นางสาวชฎาพร ภัทรพิบูลพงศ์,นายวุฒิชัย เลิศวัฒนชัย    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 62

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , ปรีชา มนทกานติกุล , จันทนา ห่วงสายทอง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ปัญหาจากการใช้ยา, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, เครื่องมือส่งสัญญาณ, โรงพยาบาลรามาธิบดี, Drug Related Problems, Chronic Kidney Disease patients, Trigger Tool, Ramathibodi Hospital
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องมือส่งสัญญาณในการค้นหาปัญหาจากการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง วิธีการศึกษาประกอบด้วยการพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณและนำไปค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณดำเนินการโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาระหว่าง พ.ศ.2556-2558 ที่หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 102 เวชระเบียนเพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยาและคัดเลือกปัญหาจากการใช้ยาดังกล่าวนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณ ภายหลังจากได้เครื่องมือที่พัฒนาแล้ว นำมาค้นหาปัญหาจากการใช้ยาในกลุ่มตัวอย่างเดิมอีกครั้ง ผลการศึกษาจากขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณ พบว่า มีปัญหาจากการใช้ยาจำนวน 382 เหตุการณ์จาก 92 เวชระเบียน คัดเลือกปัญหาจากการใช้ยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกต่อผู้ป่วยมากำหนดเป็นตัวส่งสัญญาณ 6 ชนิด ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ภาวะฮอร์โมนพารา-ไทรอยด์สูงชนิดทุติยภูมิ ภาวะพร่องวิตามินดี ภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิก และการได้รับยา เมทฟอร์มิน เมื่อนำตัวส่งสัญญาณไปค้นหาปัญหาจากการใช้ยาอีกครั้ง พบตัวส่งสัญญาณทั้ง 6 ชนิด รวม 212 ครั้ง จาก 102 เวชระเบียน และเป็นตัวส่งสัญญาณที่นำไปสู่ปัญหาจากการใช้ยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิก 61 เหตุการณ์คิดเป็นร้อยละ 59.8 แม้ว่ายังไม่มีการทดสอบความถูกต้องและความแม่นยำของเครื่องมือส่งสัญญาณที่พัฒนาขึ้น แต่ก็สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพต่อไป โดยสรุปปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาที่ใช้เครื่องมือส่งสัญญาณในการค้นหาได้
abstract:
The purpose of this study is to identify the drug-related problems (DRPs) in Chronic Kidney Disease (CKD) patients by using the proposed trigger tool. The method of study consisted of the first step i.e. development of trigger tool and then it was used for DRPs identification. The development process was performed by intensive chart review of CKD patients who visited at the Nephrology Unit, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital during 2013-2015 years. Total 102 patients were recruited for identifying all DRPs and their DRPs were suggested to develop the proposed trigger tool. Later, the proposed trigger tool was performed to detect clinical significant DRPs again from the same patient groups. It was found that 382 DRPs from 92 medical records were detected by the first step. Six types of those DRPs including anemia, high serum phosphate level, secondary hyperparathyroidism, vitamin D deficiency, metabolic acidosis and metformin treatment were clinical significant related to CKD patients and resulted to propose trigger. In addition, those triggers were identified by 212 times from 102 medical records and were able to detect 61 (59.8%) clinical significant DRPs. Although the validity and reliability of the proposed trigger tool are not tested, it suggests the way to develop effective CKD patient trigger tools. In conclusion, DRPs in CKD patients were identified by the trigger tool.
.