การใช้ TPN ในโรงพยาบาลเด็ก

โดย: วันวิสาข์ สบายใจ,วิศิษฏ์ อมรถนอมโชค    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: เฉลิมศรี ภุมมางกูร , นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์ , นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การศืกษานี้เป็นการสำรวจเพื่อทราบชนิดและปริมาณการใช้น้ำยาสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลเด็ก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่แผนกเภสัชกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นระยะเวลาทั้งหมด 7 เดือน และใช้การรวบรวมข้อมูลจากตึกศัลยกรรมเด็กแรกเกิดทั้งหมด เนื่องจากเป็นแผนกที่มีการใช้น้ำยาสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำมากที่สุดในโรงพยาบาล ในการรวบรวมพบผู้ป่วยเด็กที่ให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำทั้งหมดจำนวน 51 คน และพบว่าการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำของโรงพยาบาลเด็กจะนิยมให้ สารอาหารคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักและผสมกับสารอาหารอื่นๆ เช่น โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน,เกลือแร่ ตามแต่ร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนจะต้องการ สำหรับน้ำยาสารอาหารที่ใช้มากที่สุดในโรงพยาบาล คือ น้ำยาสารอาหารโปรตีน โดยคิดเป็นร้อยละ 83.33 ของทั้งหมด รองลงมาคือ น้ำยาสารอาหารไขมัน คิดเป็นร้อยละ 16.67 จากการศึกษาไม่พบอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยอาจเป็นเพราะมีการควบคุมเป็น อย่างดีจึงไม่มีอันตรายต่อผู้ป่วย ส่วนทางด้านความคงตัวของน้ำยาสารอาหารพบว่า น้ำยาสารอาหารไขมันมีปัญหาในด้านนี้ไม่สามารถผสมกับสารอาหารอื่นได้ จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการเตรียม จากการศึกษาแสดงให้เห็นด้วยว่า ควรมีการส่งเสริมการเตรียมน้ำยาสารอาหารทางหลอดเลือดดำโดยเภสัชกรเองในโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากทั้งต่อผู้ป่วย,เภสัชกร และแพทย์ ทั้งยังช่วยลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศจากการสั่งซื้อน้ำยาสารอาหารทางหลอดเลือดดำจากต่างประเทศได้อีกด้วย
abstract:
The study of type and quantity of parenteral nutrition solution utilization was performed at Children Hospital from March 1st ,1995 to September 30th ,1995. The data were collected at the newborn surgery were because parenteral nutrition solution solutions were frequently used. There were 51 patients used Total Parenteral Nutritions. The type of TPN solutions mainly used were carbohydrate solutions which were basic type of solution used alone or either with protein solution, lipid, vitamin or eletrolyte. Protein nutrition solution were used mainly (83.30%), followed with lipid nutrition solutions(10.50%) and others solution(6.20%) Adverse of Drug Reaction(ADR) of Parenteral Nutrition were not found during this study. This is might be owing to good control. Regarding to the preparation of Parenteral Nutrition, we found the incompatibility problem in mixing with lipid solution. Therefore it should be cautiously prepared. In conclusion, Parenteral Nutrition should be prepared by well trained pharmacists in the hospital. It would be benefit to patients, pharmacists and physicians in utilization of Parenteral Nutrition and it will decrease the budget and reduce the amount of purchasing of Parenteral Nutrition from the manufacturer.
.