การบริโภคยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนที่เข้ารับการรักษาที่คลีนิควัยทองโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: นส.ณัยพ จันทร์แจ่ม,นส.เขมณภัทร เที้ยบัญญัติ    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , มยุรี จิรภิญโญ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: : ยา, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, สตรีวัยหลังหมดประจำเดือน, สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน , Medications, dietary supplements, perimenopausal women, postmenopausal women
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ การบริโภคยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน โดยทำการศึกษาที่คลินิกวัยทองหญิง โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากสตรีจำนวน 79 คน ถึงอาหารที่รับประทานเป็นประจำและการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคยาได้จากการสืบค้นแฟ้มประวัติผู้ป่วย จากข้อมูลที่ได้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนร้อยละ 11.4และสตรีวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 88.96 อาหารที่บริโภคเป็นประจำ ได้แก่ ผักใบเขียว (ร้อยละ 84.8) รองลงมาคือ ปลาตัวเล็กที่รับประทานพร้อมกระดูก (ร้อยละ72.2) นอกจากนี้ยังพบว่ามีการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นจำนวน ร้อยละ 55.69 สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการบริโภคมากที่สุด ได้แก่ ชาเขียว (ร้อยละ15.2) รองลงมาคือ วิตามินซี (ร้อยละ 10.1) และนมเสริมแคลเซียม (ร้อยละ 7.6) โดยส่วนใหญ่มีระยะเวลาการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี และมีการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้แนะนำการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่คือ ญาติ และเหตุผลที่บริโภคโดยรวมคือ เพื่อบำรุงสุขภาพ จากการสำรวจเกี่ยวกับการบริโภคยาพบว่ามีการสั่งจ่ายฮอร์โมนทดแทนโดยแพทย์ร้อยละ 25.3 สำหรับยาที่มิใช่ฮอร์โมนทดแทนที่แพทย์สั่งจ่ายให้แก่ผู้ที่มาเข้ารับการรักษามากที่สุดคือ แคลเซียม(ร้อยละ 86.1) และวิตามินอี(ร้อยละ 86.1) รองลงมาคือ วิตามินบี 1-6-12 (ร้อยละ 24.1) บุคลากรทางสาธารณสุขควรตระหนักถึงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในสตรีกลุ่มนี้และควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการให้คำแนะนำเพื่อให้มีการใช้อย่างเหมาะสม
abstract:
The objective of this study is to examine the prevalence of medication and dietary supplement consumption among perimenopausal and postmenopausal women attending menopausal clinic at Ramathibodi hospital. Seventy-nine women were interviewed regarding their regular diet and dietary supplement consumption. Information concerning the medications use was obtained from patients‘ medical records. Of 79 women, 88.96% are postmenopausal women. Their regular diets are green leaf-vegetable (84.8%) and small whole body eaten - fish (72.2%). The prevalence of dietary supplement consumption is 55.69%. The most popular dietary supplements are green tea (15.2%), vitamin C (10.1%), and high calcium milk (7.6%), respectively. Most dietary supplement is consumed continuously for about 2 years for the purpose of getting healthy. Relatives are the most important persons influencing the consumption. About 25.3 % of the women received hormone replacement therapy from physicians. Other medications received from physicians are calcium (86.1%), vitamin E (86.1%) and vitamin B1-6-12 (24.1%). Health care professionals should be aware of the common of self-dietary supplement consumption among these women. In addition, health care professionals should pay more attention in counseling these women on appropriate use of the dietary supplements.
.