สำรวจการจ่ายยาตามชื่อสามัญของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดย: จุฬาภรณ์ ตรังพาณิชย์,วิภา จิวจินดา    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข , พัชรินทร์ สุวรรณกูฏ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการจ่ายยาด้วยยาชื่อสามัญและชื่อการค้าของใบสั่งยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี หลังจากที่ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการออกระเบียบการแทนยาด้วยยาชื่อสามัญ (Generic Drug) ที่มีราคาถูกกว่าให้กับผู้ป่วยเมื่อเดือนตุลาคม 2538 แต่ถ้าแพทย์ไม่ต้องการให้มีการแทนยาก็ให้ขีดเส้นใต้ที่ชื่อยานั้น งานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นี้ ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากใบสั่งยาผู้ป่วยนอก ที่จ่ายให้ผู้ป่วยแผนกเวชศาสตร์ทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัว แผนกจิตเวช แผนกหู คอ จมูก แผนกอายุรกรรม แผนกกุมารเวช และแผนกออร์โธปิดิกส์ ในช่วงระยะเวลา 5 วัน คือ วันจันทร์ที่ 20 ถึง วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2540 ในเวลาราชการ (8.30-16.30 น) รวบรวมจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด 4,211 ใบ มีรายการยา 11,871 รายการ โดยแผนกเวชศาสตร์ทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัว มีจำนวนใบสั่งยามากที่สุด 1,555 ใบ (ร้อยละ 36.93) ในจำนวนรายการยาทั้งหมดมี ร้อยละ 16.58 ที่แพทย์ขีดเส้นใต้หรือไม่ต้องการให้มีการแทนยา ยังพบว่าแผนกเวชศาสตร์ทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัวมีการขีดเส้นใต้ชื่อยามากที่สุด 1,430 รายการ (ร้อยละ 31.33 ของรายการยาในแผนก) สำหรับข้อมูลยาที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้แยกตามแผนก พบว่า ยาที่แพทย์สั่งจ่ายด้วยชื่อการค้าและห้องยาจ่ายด้วยชื่อการค้า คิดเป็น ร้อยละ 46.39 จากรายการยาที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้ที่สามารถจ่ายยาชื่อสามัญแทนได้ สำหรับยาที่แพทย์สั่งจ่ายด้วยชื่อการค้าแต่ห้องยาจ่ายด้วยยาชื่อสามัญ คิดเป็น ร้อยละ 10.66 ของรายการยาที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้ เมื่อพิจารณาประเภทของผู้สั่งจ่ายยากับจำนวนรายการที่ขีดเส้นใต้ พบว่า อาจารย์แพทย์ (Staff) ขีดเส้นใต้รายการยา ร้อยละ 21.40 ส่วนแพทย์ประจำบ้าน (Resident) ขีดเส้นใต้รายการยา ร้อยละ 4.13 สำหรับข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะ แผนกที่มีการใช้มากที่สุด คือ แผนกกุมารเวช คิดเป็นร้อยละ 17.30 ของรายการยาในแผนก การสำรวจนี้ไม่ได้หาสาเหตุการที่ห้องยาไม่จ่ายยาชื่อสามัญในกรณีที่สามารถทำได้ที่มีเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ 46.39) ซึ่งสมควรหาสาเหตุต่อไป เพราะจะช่วยให้เกิดการประหยัดทั้งกับแผนกเภสัชกรรมและตัวผู้ป่วยด้วย
abstract:
The objective of this research is to survey the extent of generic prescribing for outpatients at Ramathibodi Hospital after a generic substitution rule was implemented since October 1995. If doctor doesn”t want the drug to be substituted, he should underline the drug”s name. This is a retrospective survey research. Data were collected from 6 departments; department of General Practice and Family Medicine (GP), department of Ear Nose and Throat (ENT), department of Psychiatry (Psy), department of Medicine (Med), department of Orthopedic (Ortho) and department of Pediatrics (Ped). Prescriptios were dispensed during January 20-24, 1997, from 8.30 am. to 4.00 pm. Results showed that 4,211 prescriptions (11,871 items) were surveyed, 36.93% of which (or 1,555 prescriptions) were from GP department. Doctors underlined 16.58% of drug items which meant that no substitution can be done. Moreover, we found that GP had most of the underlined drugs 1,430 items or 31.33% of all GP”s drug items. For non-underlined drug items, 46.39% were both prescribed and dispensed by trade name drug. Approximately, 10.66% of non-underlined drug items were substituted with generics. When we consider about prescribers and the underline items, results showed that, faculty staffs and residents underlined 21.40% and 4.13% of their drug items respectively. For antibiotics, prescriptions for pediatrics had the highest percentage, 17.30% of all drug items. However, the reasons for not substituting (46.39%) with generic when possible were not determined and should be done in the future. Savings from generic substitution should also be determined since it help save patient”s money as well as government budget for drugs.
.