การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากน้ำมันรำข้าว

โดย: กษมา สุขโข,กัณฑิมา ดาระอิทร์    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ , อ้อมบุญ วัลลิสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: รำข้าว, น้ำมันรำข้าว, ผลิตภัณฑ์ประอรผิว, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว, rice bran, rice bran oil, moisturizing products
บทคัดย่อ:
การพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากน้ำมันรำข้าว (Oryza sativa L.) เริ่มจากการสกัดน้ำมันจากรำข้าวโดยใช้ Hexane และ Isopropanol ในอัตราส่วน 1:1 สกัดได้ %yield เท่ากับ 27.2% เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำมันรำข้าว (F&C grade) ที่ได้จากบริษัท ซีพี และสารมาตรฐาน แกมมา-oryzanol และ Vitamin E acetate ด้วยวิธี TLC โดยใช้ระบบตัวทำละลายคือ Toluene:Ethyl acetate (9:1) พบว่าน้ำมันรำข้าวที่ได้จากการสกัดเองมีลักษณะ chromatogram คล้ายกับน้ำมันรำข้าว (F&C grade) ที่ได้จากบริษัทซีพี แต่มีปริมาณสาร gamma-oryzanol มากกว่าและเมื่อตรวจสอบโดยวิธี HPLC ก็ให้ผลยืนยันการตรวจสอบเช่นเดียวกับวิธี TLCการศึกษานี้ได้คัดเลือกตำรับครีมพื้น 5 ตำรับ จากนั้นคัดเลือกตำรับที่มีความคงตัวมากที่สุดมาเตรียมผลิตภัณฑ์ โดยทดลองปรับปริมาณน้ำมันรำข้าวให้เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวมากที่สุด นำไปทดสอบการระคายเคืองและประสิทธิภาพในการบำรุงผิวในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 20 คน เปรียบเทียบกับครีมพื้น โดยให้อาสาสมัครทาครีมน้ำมันรำข้าวและครีมพื้นที่ท้องแขนในบริเวณที่กำหนดไว้ ทุกวันในเวลาเช้าและก่อนนอน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ วัดผลทุก 3 สัปดาห์ด้วยเครื่อง Corneometer, Mexameter และ Skin visiometer จากการทดลองเมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติเปรียบเทียบระหว่างครีมน้ำมันรำข้าวกับครีมพื้นด้วยวิธี paired t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ครีมน้ำมันรำข้าวเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังและทำให้ผิวขาวขึ้นมากกว่าครีมพื้น 38.87% และ 25.05% ตามลำดับ
abstract:
The development of skin nourishing product from rice bran oil (Oryza sativa L.) was carried out. The oil was extracted from rice bran by a mixture of hexane and isopropanol (1:1). The percentage yield was 27.2 . Examination of the isolated oil by TLC (Toluene:Ethyl acetate = 9:1) in comparison with CP commercial’s rice bran oil (F&C grade) revealed similar chromatograms but the isolated oil contained more gamma-oryzanol than the commercial one. Analysis by HPLC confirmed the TLC results.Five cream bases were chosen for the stability study. The most stable base was selected for rice bran cream preparation using appropriate concentration and irritation test was performed. The nourishing effect of the product was tested in 20 healthy volunteers against the cream base. The tested products were applied onto the ventral side of arms in the morning and before bed-time each day for 6 weeks. The results were measured by Corneometer, Mexameter and Skin visiometer. The rice bran oil cream showed no significant difference from cream base using paired t-test at 95% confidence limit but it showed to improvement skin at hydration and lightening skin than the cream base in 38.87 % and 25.05 %.
.