การศึกษาอัตราการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสถานปฎิบัติการเภสัชกรรมชุมชน

โดย: นส.สุพัณณดา สังข์ทิพย์,นายสุรเชษฐ์ นิรันตราภรณ์,นายพีรวัฒน์ จินาทองไทย    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โรคความดันโลหิตสูง,ค่าความดันโลหิตเป้าหมาย,สถานปฏิบัติการชุมชมJNC 7 , Hypertension,Blood pressure goal, Community pharmacy ,JNC 1 report
บทคัดย่อ:
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัยหาหลักทางด้านสาธารณสุข ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยและการตายหากไม่สามารถควบคุมความดันให้ถึงเป้าหมาย การศึกษาวิจัยในต่างประเทศบ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามรถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายการรักษา การศึกษานี้ยังศึกษาถึงอัตราการได้รับยาที่มีประโยชน์ลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้และตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา ลักษณะงานวิจัยเป็นแบบ observational โดยประชากรเป็าหมายได้แก่ ผู้ที่เข้ามารับบริการที่สถานปฏิบัติการเภสัชกรรม 2 แห่งในกรุงเทพมหานครที่ยินยอมเข้าร่วมกาารศึกษา การวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลทั่วไไป การวัดความดัน และการให้ความรู้ทั่วไปแก่ผู้ป่วย ระยะเวลาในการทำวิจัยตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2546 จากผลการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 102 คนพบว่าเพียง 25.5% ของผู้ป่วยสามารถคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ผู้ป่วยเพียง 13.9 % ได้รับยา antiplatelet ทั้งที่มีข้อบ่งใช้ ในขณะที่น้อยกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้ยา beta-blockers ไม่ได้รับยากลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังพบปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาสูงถึง 64.7% ของผู้ป่วยและพบปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาลดความดันโลหิต 12.7% จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า มีผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายการรักษา นอกจากนี้อัตราการใช้ยาที่ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายจัดได้ว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นข้อมูลงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ในการคิดค้นมาตรการควบคุใมความดันโลหิตและเพิมอัตราการใช้ยาที่มีประโยชน์ในการลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยต่อไป
abstract:
Hypertension is a major health problem whish leads to an increase in morbidity and mortality if left uncontrolled. Despite advances in hypertension management,studies consistently suggest that proportion of patients are not at their blood pressure goals. The primary objective of this study is to evaluate blood pressure control rate among treated Thai hypertension pateints. Other objective are to assess the rate of patients receiving medications with mortality benefit when indicated and to detect drug related problems in this population. From June to September 2003 , blood pressure measurements were conducted on hypertensive pateints presenting at two community pharmacies in Bangkok. Of 102 pateints included in the final analysis , 25.5% had their blood pressures at goals. Only 13.9% of pateints received antiplatelet where indicated , while less than half of pateints did not receive beta-blockers when indicated. Drug interactions were found in 64.7% of pateints while 12.7% of pateints experienced adverse drug reactions from past or current use of hypertensive agents. The result of this shows that a number of Thai hypertensive pateints failed to reach blood pressyre goals. In addition , the use of medications with morbidity and mortality benefit in this population is disappointingly low. Interventions to increase blood pressure control rate and prescrebing of medications with morbidity and mortality benefit are warranted in order to prevent complications from hypertension in Thai hypertensive population
.