สํารวจระบบสํารองยา Antidotes ในโรงพยาบาลเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดย: ธีรภัทร เวสสะประวีณเวช, นพดล นันต๊ะมูล    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข , บุษบา จินดาวิจักษณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: Antidotes, การสํารองยา, โรงพยาบาล, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, Antidotes, Stock, Hospital, Bangkok and nearby provinces
บทคัดย่อ:
Antidotes คือ กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ขัดขวาง หรือยับยั้งกระบวนการที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอันเนื่องมาจากสารเคมี หรือการได้รับยาเกินขนาด ซึ่งปัจจุบันพบปัญหาการขาดแคลนยากลุ่มนี้ในกรณีฉุกเฉินมากขึ้น อันเป็นผลให้ผู้ป่วยบางรายต้องเสียชีวิตหรือพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้วิจัยจึงทําการสํารวจระบบสํารองยาและปัญหาเกี่ยวกับ Antidotesในโรงพยาบาล ดําเนินการวิจัยโดยออกแบบสอบถามสํารวจปริมาณการสํารองยา Antidotesจํานวน 54 ชนิดที่คลังยา หอผู้ป่วยใน และห้องฉุกเฉิน รวมทั้งปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข ทําการส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าหน่วยงานเภสัชกรรมทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 รวมทั้งสิ้น 173 แห่ง (รัฐบาล 41แห่ง และเอกชน 132 แห่ง) ได้รับการตอบกลับมา 63 แห่ง (ร้อยละ 36.41) แต่สามารถนํามาใช้ในการวิเคราะห์ได้เพียง 58 แห่ง หรือร้อยละ 33.5 เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล 25 แห่ง (ร้อยละ 43.10)และโรงพยาบาลเอกชน 33 แห่ง (ร้อยละ 56.90) มีขนาดเตียงตั้งแต่ 26-1,300 เตียง มีจํานวนยาAntidotes ที่สํารองในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 46 ชนิด ยาที่โรงพยาบาลมีสํารองไว้มากสุดในคลังยา 3 ลําดับแรก คือ Sodium bicarbonate inj. 7.5%, Charcoal powder และ Naloxone inj. 0.4mg/ml (ร?อยละ 94.83, 82.76 และ 81.03 ตามลําดับของโรงพยาบาลทั้งหมด) โรงพยาบาลส่วนมากมักมีการสํารองยา Antidotes ไว้ที่คลังยามากกว่าที่จะสํารองไว้ใช้ในห้องฉุกเฉินหรือหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมีปัญหาการขาดแคลนยายามฉุกเฉินถึงร้อยละ 31.03 และพบปัญหาดังกล่าวในโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 42.42) ซึ่งมากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 16.00) นอกจากนี้ยังพบปัญหายาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ, การหาซื้อยาหรือสารเคมียาก, และยาหรือสารเคมีมีราคาแพง (ร้อยละ 82.76, 51.72 และ 25.87 ตามลําดับ) สําหรับการแก้ไขปัญหานั้นควรมีศูนย์ที่มี Antidotes ครบถ้วนไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
abstract:
Antidote is a drug used to detoxify chemical toxicity or drug overdose. At present, there is an increasing problem of antidote not available when needed. For acutely poisoned patient who requires immediate treatment with an antidote, the shortages of antidotes and delays in treatment can be fatal. The objective of this study was to survey the antidote stock system in hospitals. A questionnaire was developed to ask for the availability of 54 antidotes in 3 places, drug stock, inpatient wards, and emergency room. Also asked were problems related to antidotes and solutions to the problems. In July 2004, the questionnaire was sent to pharmacy directors of all 173 hospitals in Bangkok and nearby provinces, (41 public and 132 private hospitals). The response was obtained from 63 (36.41%) hospitals. However, only 58 (33.5%) was usable (25 public, 41.1% and 33 private hospitals, 56.9%) with bed-size of 26-1,300. Overall, there were 46 (85.1%) of 54 antidotes being stocked. The first three antidotes most hospitals have stocked are sodium bicarbonate inj. 7.5% (94.83%), charcoal powder (82.76%) and naloxone inj. 0.4mg/ml (81.03%), respectively. Most antidotes are kept in drug stock of the pharmacy department rather than in emergency room or inpatient wards. Moreover, the problem of antidotes not available when needed is found in 31.03% of all hospitals, but more in private than public ones (42.42% and 16.00% respectively). Three other frequently found problems are; expired drugs (82.76%), difficulty to purchase (51.72%) and high prices (25.87%). The respondents recommend setting up an emergency center for all antidotes so everyone can access.
.