การศึกษากลไกการดื้อยาแบบเมทัลโลเบต้าแลคเเตมเมส ในเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซาที่ดื้อต่อยาหลายขนาน

โดย: นางสาวภัทราพร ลีลายุทธชัย,นางสาววรัชญา เอื้อวัฒนะสกุล    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี , นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: การดื้อยาหลายขนาน , เมทัลโลเบต้าแลคเเตมเมส, ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา, Mulitidrug resistance, Pseudomonas aeruginosa, Metallo beta lactamase
บทคัดย่อ:
อุบัติการณ์การดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียก่อโรค เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ อันเป็นผลเนื่องมาจากการให้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันพบว่าแบคทีเรียก่อโรคที่พบได้อย่างกว้างขวาง และเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่สำคัญในโรงพยาบาลชนิดหนึ่ง คือ Pseudomonas aeruginosa เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถในการดื้อต่อยาต้านจุลชีพได้หลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น ยากลุ่มเบต้าแลคแตม อะมิโนกลัยโคซายด์ ฟลูออโรควิโนโลน ฟอสโฟมัยซินและโคลิสติน โดยในการศึกษาทดลองครั้งนี้ได้ทำการศึกษากลไกการดื้อต่อยาแบบเมทัลโลเบต้าแลคแตมเมส ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่สำคัญของ P. aeruginosa โดยวิธี Double disc synergy และทำการตรวจสอบ การปรากฏของยีน imp และ ยีน vim ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการดื้อต่อยาต้านจุลชีพด้วยเอมไซม์เมทัลโลเบต้าแลคแตมเมส โดยใช้วิธี Polymerase Chain reaction (PCR) ซึ่งจากการทดลองพบว่าจากเชื้อตัวอย่าง P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยาหลายขนานจำนวน 99 ตัวที่นำมาทดสอบ พบว่าเชื้อตัวอย่าง 17 ตัวมีกลไกการดื้อต่อยาโดยการสร้างเอมไซม์เมทัลโลเบต้าแลคแตมเมส และเมื่อทำการตรวจสอบยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการดื้อต่อยา พบว่าทั้ง 18 ตัวมีการแสดงออกของ ยีน imp เพียงอย่างเดียว จึงอาจสรุปได้ว่าการแสดงออกของยีน imp มีผลเกี่ยวข้องกับการดื้อต่อยาแบบเมทัลโลเบต้าแลคแตมเมสในเชื้อตัวอย่าง ซึ่งในการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื้อต่อยาแบบเมทัลโลเบต้าแลคแตมเมส และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับการรักษาผู้ป่วยต่อไป
abstract:
The prevalence of antimicrobial drug resistance is an important public health problem resulting from the inappropriate antimicrobial medication. Nowadays, the pathogenic bacteria which have been well known as an important opportunistic pathogen is Pseudomonas aeruginosa. In the previous studies indicated that this bacteria could resistant to various antimicrobial drugs such as the ?-lactam antibiotics, aminoglycosides, fluoroquinolones, fosfomycin, and colistin. In present study, metallo-?-lactamase production, one of the important drug resistance mechanisms, was evaluated by double-disc synergy test. Moreover, polymerase chain reaction (PCR) method was used for determine the presence of imp and vim genes which were associated with this mechanism.The result demonstrated that 18 from 99 samples of MDR-P. aeruginosa could produce metallo-?-lactamase and all of them had the expression of imp gene only. In conclusion, imp gene may be related to ?-lactam drug resistance in these samples.This study is the one of the approaches to find out the factors that influence ?-lactam drug resistance.
.