สูตรตารับต้านอักเสบของสารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica L.)

โดย: นายพงศ์พัฒน์ พรไชยศิลป์, นายอภิศักดิ์ กิติเจริญศักดิ์    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: พิมลพรรณ พิทยานุกุล , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: บัวบก, ต้านอนุมูลอิสระ, ต้านการอักเสบ, ตารับสาหรับใช้ภายนอก, Centella asiatica L., antioxidant, anti-inflammatory, topical formulation
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบของสารสกัดบัวบก (Centella asiatica L., CA) และเพื่อพัฒนาตารับที่ประกอบด้วยสารสกัด CAพืชสดทั้งต้นของ CA ถูกสกัดด้วยวิธี water extraction ที่อุณหภูมิจุดเดือดของน้าและทาให้แห้งด้วยวิธี spray dried สารสกัดถูกวิเคราะห์หาปริมาณ total flavonoids, total condensed tannins และ total phenolics ด้วยวิธี aluminium chloride colorimetricmethod, vanillin assay และ Folin-Ciocalteu method ตามลาดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบของสารสกัดถูกวิเคราะห์ด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ anti-lipoxygenase assayตามลาดับ สารสกัดของหมากและสารสกัดทางการค้าของ CA ได้ถูกศึกษาขนานกัน ตารับอิมัลชัน (oil-in-water) ซึ่งประกอบด้วยสารสกัด CA ที่ความเข้มข้น 50% ของฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบ (IC50) ได้รับการพัฒนาขึ้น และถูกประเมินความคงตัวทั้งทางกายภาพและทางเคมีในระยะเวลา 29 วันที่อุณหภูมิ 4 °C, 25 °C (อุณหภูมิห้อง) และ 40 °C ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 100 มิลลิกรัม ประกอบด้วย flavonoids 0.78 ± 0.05 มิลลิกรัม, condensed tannins 0.17 ± 0.11 มิลลิกรัม และ phenolic compounds 2.30 ± 0.10 มิลลิกรัม สารสกัด CA แสดงผล dose-dependent สาหรับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบโดยมีค่าความเข้มข้นของ IC50 298.10 ± 42.09 และ 32,720 ± 2,250 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ ตารับที่พัฒนาได้แสดงผลความคงตัวดีที่สุดที่อุณหภูมิตามลาดับคือ 4 °C >25 °C >40 °C
abstract:
The aims of this special project were to evaluate the antioxidant and anti-inflammatory activities of the Centella asiatica L. (CA) extract and to develop the topical preparations containing the extract. Fresh whole plant of CA was extracted by water extraction at boiling temperature and spray dried. The extract was determined for its total flavonoid contents using aluminium chloride colorimetric method, total condensed tannin contents using vanillin assay and total phenolic contents using Folin-Ciocalteu method. The antioxidant and anti-inflammatory activities of the extract were determined by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) method and anti-lipoxygenase assay, respectively. The extract of Areca nut and the commercial sample of CA extract were studied in parallel. Various oil-in-water emulsions containing the CA extract were developed with 50% inhibitory concentration (IC50) against anti-inflammatory activity of the extract. The preparations were evaluated for their physical and chemical stabilities for 29 days at 4 °C, 25 °C (room temperature) and 40 °C. The results found that 100 mg of the extract contains 0.78 ± 0.05 mg of flavonoid, 0.17 ± 0.11 mg of condensed tannin and 2.30 ± 0.10 mg of phenolic compounds. The extract demonstrated dose-dependent activities for antioxidant and anti-inflammatory with IC50 of 298.10 ± 42.09 μg/mL and 32,720 ± 2,250 μg/mL, respectively. The developed preparations exhibited best stability at the following temperature order: 4 °C > 25 °C > 40 °C.
.