หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (emergency contraceptives) มีประสิทธิภาพแม้ในคนอ้วน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2557 -- อ่านแล้ว 4,407 ครั้ง
 
ตามที่ได้มีข้อมูลทางวิชาการเมื่อไม่นานมานี้ว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจให้ประสิทธิผลลดลงในคนที่มีน้ำหนักมากเกิน หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องรวมถึง The European Medicines Agency ได้ทำการทบทวนในเรื่องนี้ ในเบื้องต้นได้ทบทวนข้อมูลของยา NorLevo 1.5 mg tablet (levonorgestrel 1.5 mg) และบริษัทผู้รับผิดชอบได้มีการแก้ไขเอกสารกำกับยาโดยเพิ่มข้อความว่า “จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าประสิทธิผลของยา levonorgestrel ลดลงในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 75 กิโลกรัมขึ้นไปและไม่มีประสิทธิผลในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 80 กิโลกรัม” ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับยาตำรับอื่นตามข้อมูลที่ได้นำเสนอใน “ข่าวยา” ก่อนหน้านี้ไปแล้วนั้น ขณะนี้ The European Medicines Agency ได้เสร็จสิ้นการทบทวนในเรื่องนี้และมีความเห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ว่าอาจให้ประสิทธิผลลดลงในคนที่มีน้ำหนักมากเกินนั้น ขณะนี้จากหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวและลงความเห็นว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์แม้ในคนอ้วน ส่วนผลการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้จากประเทศอื่นๆ ยังไม่มีรายงานออกมาอย่างป็นทางการ ขณะนี้องค์กรที่ทำ clinical trials ของ U.S. National Institutes of Health กำลังศึกษาเรื่อง “Pharmacokinetics of the levonorgestrel-only emergency contraception regimen in normal-weight, obese and extremely obese users: a pilot study” เป็นการศึกษาแบบ prospective cohort study ในสตรีอายุ 18-35 ปี ที่มีรอบประจำเดือนสม่ำเสมอ (24-35 วัน) โดยยาที่ทำการศึกษาคือ levonorgestrel 1.5 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียวในวันที่ 8 ของรอบประจำเดือน ศึกษาในคนอ้วน (obese user, ดัชนีมวลกายหรือ BMI = 30-39.9 กก./ตร.ม.) และอ้วนมาก (extremely obese user, BMI เท่ากับหรือมากกว่า 40 กก./ตร.ม.) เทียบกับคนที่ไม่อ้วน (BMI = 18.5-24.9 กก./ตร.ม.) คาดว่าการศึกษาจะเสร็จสิ้นราวเดือนเมษายน 2558 ซึ่งผลการศึกษานี้น่าจะให้ความกระจ่างว่าเภสัชจลนศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปในคนอ้วนนั้นจะกระทบต่อประสิทธิผลของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินหรือไม่

อ้างอิงจาก:

(1) Effectiveness of emergency contraception may be reduced in women weighing more than 70kg. Medsafe Monitoring Communication (New Zealand Medicines and Medical Devices Safety Authority). http://www.medsafe.govt.nz; (2) The Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA). Press Release: European review concludes positive benefit risk of emergency contraceptives. http://www.mhra.gov.uk/NewsCentre/Pressreleases/CON437757; (3) ClinicalTrials.gov, U.S. National Institutes of Health. Effects of obesity on pharmacokinetics of the levonorgestrel emergency contraceptive pill. http://clinicaltrials.gov/show/NCT02104609

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
emergency contraceptive The European Medicines Agency levonorgestrel clinical trial U.S. National Institutes of Health pharmacokinetics emergency contraception regimen in normal-weight obese extremely obese prospective cohort study a pilot
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้