หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

FDA Approves New Treatment for Advanced Form of Kidney Cancer

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน ตุลาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 5,887 ครั้ง
 
องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติยา Votrient® (pazopanib; London-based GlaxoSmithKline) เพื่อรักษา kidney cancer ซึ่งนับได้ว่าเป็นยาตัวที่ 6 ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อการรักษา kidney cancer นับตั้งแต่ปี 2005

Voltrient® เป็นยารูปแบบรับประทานที่มีกลไกการออกฤทธิ์ คือ รบกวนกระบวนการ angiogenesis (การสร้างหลอดเลือดใหม่) ที่จำเป็นต่อการเจริญและการมีชีวิตรอดของ solid tumor ยาตัวนี้มีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ป่วย advanced renal cell carcinoma ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่พบเซลล์มะเร็งตามผนังของ tubule เล็กๆในไต โดยในปี 2009 มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น renal cell carcinoma จำนวน 49,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 11,000 คน

ยาอื่นๆอีก 5 ตัวที่ได้รับการอนุมัติในการรักษา kidney cancer ได้แก่

Sorafenib (อนุมัติเมื่อ ธันวาคม 2005), Sunitinib (อนุมัติเมื่อ มกราคม 2006), Temsirolimus (อนุมัติเมื่อ พฤษภาคม 2007), Everolimus (อนุมัติเมื่อ มีนาคม 2009), and Bevacizumab (อนุมัติเมื่อ กรกฎาคม 2009).

ข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา Voltrient® ได้จากการศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 435 คน โดยทำการตรวจหา progression-free survival (ระยะเวลาหลังจากเข้าร่วมการศึกษานับตั้งแต่ก่อนที่เนื้องอกจะเจริญอีกครั้งไปจนกระทั่งก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต) โดยค่าเฉลี่ย progression-free survival อยู่ที่ 9.2 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา Voltrient® เปรียบเทียบกับ 4.2 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยาได้แก่ ท้องเสีย ความดันโลหิตสูง สีผมเปลี่ยนไป คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องและศีรษะ อีกทั้งยายังเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นแพทย์ควรมีการสั่งตรวจ blood test เพื่อตรวจดูการทำงานของตับทั้งก่อนและระหว่างการรักษาด้วยยา และยาดังกล่าวไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากยาส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ได้รับยา Voltrient® ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ควรได้รับการตรวจ electrocardiograms เป็นระยะๆ รวมถึงตรวจดู electrolyte ด้วยเนื่องจาก electrolyte imbalance จะส่งผลทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้