หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Steroids or Montelukast After Asthma Attacks in Children?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน ธันวาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 4,445 ครั้ง
 
เด็กส่วนใหญ่ที่มีการกำเริบของโรคหืดมักจะได้รับการรักษาด้วย steroid ชนิดรับประทาน เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ซึ่งการใช้ยาในกลุ่ม leukotriene inhibitors อาจเป็นทางเลือกของการใช้ steroid ได้ ดังนั้นจึงมีการทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาชนิด double-blind ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตยา ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคหืดที่ระดับความรุนแรง mild-to-moderate จำนวน 130 ราย (ช่วงอายุ 2-17 ปี) ที่มี acute asthma attack และเข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินในประเทศแคนาดา โดยเด็กที่ได้รับ prednisolone ชนิดรับประทาน และ salbutamol (albuterol) ร่วมกับ ipratropium bromide ตอนอยู่ในแผนกฉุกเฉินนั้นจะถูกสุ่มให้ได้รับ steroid ชนิดรับประทานหรือ montelukast ต่ออีกเป็นเวลา 5 วัน หลังจากออกจากโรงพยาบาล โดยมี “ความล้มเหลวในการรักษา” (treatment failure) เป็น primary endpoint ซึ่งหมายถึง เด็กได้รับการรักษาอาการของโรคหืดจากการตรวจเยี่ยมนอกเหนือที่นัดหมาย หรือมีการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการของโรคหืด หรือได้รับยา steroid ชนิดฉีดหรือรับประทานเพิ่มเติมสำหรับอาการของโรคหืด ภายใน 8 วันหลังจากออกจากโรงพยาบาล

ผลที่ได้ คือ เด็กที่ได้รับ montelukast มีความล้มเหลวในการรักษามากกว่าเด็กที่ได้รับ steroid ชนิดรับประทาน อย่างมีนัยสำคัญ (22% vs 10%) อีกทั้งเด็กที่ได้รับ montelukast ยังได้รับการรักษาเพิ่มเติม เช่น ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ หรือยาน้ำแก้ไอ มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (24% vs. 10%) อีกด้วย ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม่ควรใช้ montelukas เป็นทางเลือกในการรักษา acute asthma attack ในเด็ก

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้