หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Revisiting Colchicine for Acute Gout

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มิถุนายน ปี 2553 -- อ่านแล้ว 10,380 ครั้ง
 
ที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยโรคเก๊าท์เมื่อมีอาการปวดกำเริบจะให้การรักษาโดยใช้ยา colchicine ทุก 1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการปวดหายไปหรือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้ นอกจากนี้การใช้ยา colchicine นั้นยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) และยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (corticosteroids) ได้



การศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีอาการปวดกำเริบจำนวน 184 คน โดยกลุ่มแรกได้รับยา colchicine ขนาดสูง (1.2 มิลลิกรัมในตอนแรก ตามด้วย 0.6 มิลลิกรัมทุกชั่วโมงติดต่อกัน 6 ชั่วโมง) กลุ่มที่สองได้รับยา colchicine ขนาดต่ำ (1.2มิลลิกรัมในตอนแรก ตามด้วย 0.6 มิลลิกรัมในอีก 1 ชั่วโมงต่อมา) และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

ผลการศึกษาโดยการประเมินความปวดของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 38 ในกลุ่มที่ได้รับยา colchicine ขนาดต่ำมีคะแนนความปวดลดลงครึ่งหนึ่งใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ colchicine ขนาดสูงและกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีคะแนนความปวดลดลงครึ่งหนึ่งร้อยละ 33 และร้อยละ 16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณากลุ่มที่ได้รับยา colchicine เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกนั้นพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา colchicine มีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในเรื่องของผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารนั้นพบมากในกลุ่มผู้ที่ได้รับ colchicine ขนาดสูง (ร้อยละ 77) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับ colchicineในขนาดต่ำและยาหลอกพบร้อยละ 37 และร้อยละ 27 ตามลำดับ

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้