หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Testosterone ให้ผลเพิ่มสมรรถนะการออกกำลังในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน เมษายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 2,550 ครั้ง
 
โดยปกติผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมักมีปริมาณ testosterone ในร่างกายน้อย ทำให้มีปริมาณและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันลดลงตามไปด้วย Justin Ezekowitz ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจแห่งมหาวิทยาลัย Alberta และทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์การศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว 4 แห่งในช่วงปี 1980 ถึง 2010 ในผู้ป่วย 200 คน มีอายุเฉลี่ย 67 ปี โดยเปรียบเทียบผลต่อความสามารถในการออกกำลังระหว่างกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมน testosterone ทั้งในรูปแผ่นแปะผิวหนัง, เจล หรือยาฉีดกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยตลอดระยะเวลา 3 เดือนจนถึง 1 ปี ของการศึกษา ผู้ป่วยจะถูกห้ามออกกำลังกายใดๆ แล้วทดสอบความสามารถในการออกกำลังกายโดยการเดิน ความแข็งแรงของร่างกาย ปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ และการทดสอบการหายใจ ซึ่งผลศึกษาพบว่า การใช้ testosterone ช่วยเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยใดที่ศึกษาถึงผลด้านอื่น เช่น ความเสี่ยงต่อการเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ป่วย และกลุ่มผู้ป่วยในการศึกษาเหล่านี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้