หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Lecanemab… anti-amyloid beta ชนิดใหม่ สำหรับรักษาอัลไซเมอร์

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มีนาคม ปี 2566 -- อ่านแล้ว 2,326 ครั้ง
 
Amyloid beta เป็นสายโปรตีนที่เกิดจากความผิดปกติของการกำจัด amyloid precursor protein ทำให้เกิดการสะสมของ amyloid beta (amyloid beta plaque) ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ยากลุ่ม anti-amyloid beta มีความสามารถในการจับ amyloid beta อย่างจำเพาะ จึงช่วยยับยั้งการสะสมหรือกำจัดโปรตีนซึ่งเป็นพิษต่อสมองนี้และรักษาอัลไซเมอร์ได้ โดยก่อนหน้านี้ aducanumab เป็นยากลุ่มนี้ชนิดเเรกที่ได้รับอนุมัติโดย US FDA เมื่อปี 2564[1]

ล่าสุดเมื่อ 6 มกราคม 2566 US FDA ได้อนุมัติยากลุ่มนี้อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า lecanemab เพื่อใช้้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะต้น (early alzheimer’s disease) ที่มีภาวะ mild cognitive impairment หรือ mild dementia stage โดยการอนุมัติใช้ข้อมูลจากงานวิจัยชื่อ Lecanemab in Early Alzheimer’s Disease ที่เป็น multicenter, double-blind, placebo-controlled, parallel-group trial ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เป็น early Alzheimer’s disease 1,795 ราย พบว่ากลุ่มที่ได้รับ lecanemab ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 10 mg/kg ทุก 2 สัปดาห์ มีอาการของโรคที่ทุเลาลง และยังสามารถลดปริมาณโปรตีน amyloid beta ที่สะสมอยู่ได้หลังใช้ยาไปแล้ว 18 เดือน สำหรับด้านความปลอดภัย อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีดยา (infusion-related reaction) 26.4% (237 จาก 898 ราย) ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายภาพ amyloid (amyloid related imaging abnormalities: ARIA) เช่น มีเลือดออก 17.3% (155 จาก 898 ราย) สมองบวม 12.6% (113 จาก 898 ราย) ปวดศีรษะ 11.1% (100 จาก 898 ราย) หกล้ม 10.4% (93 จาก 898 ราย) เสียชีวิต 0.7% (6 จาก 898 ราย) เป็นต้น[2]

เอกสารอ้างอิง

1. ข่าวยา. Aducanumab…anti-amyloid beta antibody สำหรับรักษาโรคอัลไซเมอร์. [Internet]. [cited 2023 Jan 9]. Available from: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_ full.php?id=1625

2. Dyck C, Swanson C, Aisen P, Bateman R, Chen C, Gee M, et al. Lecanemab in Early Alzheimer’s Disease. N ENGL J MED. 2022:1-13.


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
alzheimer’s disease anti-amyloid beta lecanemab
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้