หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SGLT2 inhibitors ช่วยลดอาการปวดเกาต์กำเริบ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน เมษายน ปี 2567 -- อ่านแล้ว 1,095 ครั้ง
 
Sodium-glucose cotransporter-2 (SGLT-2) inhibitors เป็นยารักษาโรคเบาหวานที่นอกจากจะมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากสาเหตุหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากยังมีข้อมูลว่ายาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors สามารถลดการรุดหน้าของโรคเกาต์[1] และการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดเกาต์ได้อีกด้วย[2] กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors สำหรับควบคุมโรคเกาต์นั้นมีข้อสันนิษฐานว่ายาช่วยลดการดูดกลับกรดยูริกที่ท่อไตและเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะด้วยการยับยั้งการทำงานของ Glucose Transporter 9b (GLUT9b) ซึ่งเป็นตัวขนส่งกลูโคสบริเวณเซลล์ท่อไต[3]

การศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร JAMA เป็นการศึกษา retrospective cohort study เกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors ในการลดความเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดเกาต์และ all-cause mortality ในผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเกาต์และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้ข้อมูลจาก UK primary care database ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2013 ถึง 31 มีนาคม 2022 มีผู้ป่วยทั้งหมด 5,931 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่เริ่มการรักษาเบาหวานด้วยยาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors จำนวน 1,548 คน และกลุ่มที่เริ่มการรักษาเบาหวานด้วย active comparators เช่น glucagonlike peptide-1 receptor agonists (GLP-1 RA), dipeptidyl peptidase-4 inhibitors (DPP-4i) เป็นต้น จำนวน 4,383 คน และติดตามการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดเกาต์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกและการเกิด all-cause mortality ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ใช้ยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors เกิดการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดเกาต์ต่ำกว่ากลุ่ม active comparators อย่างมีนัยสำคัญ (rate difference (RD), -8.8 [95%CI, -17.2 to -0.4] per 1,000 person-years; HR, 0.81 [95%CI, 0.65-0.98]) และกลุ่มที่ใช้ยาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors เกิด all-cause mortality ต่ำกว่ากลุ่ม active comparators 29% (18.8 vs 24.9 per 1,000 person-years; RD, -6.1 [95%CI, -10.6 to -1.6] per 1,000 person-years; HR, 0.71 [95%CI, 0.52-0.97])[4] ดังนั้นการเริ่มใช้ยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเกาต์ร่วมด้วยจึงอาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

เอกสารอ้างอิง

1. Fralick M, Chen SK, Patorno E, Kim SC. Assessing the Risk for Gout with Sodium-Glucose Cotransporter-2 Inhibitors in Patients with Type 2 Diabetes: A Population-Based Cohort Study. Ann Intern Med. 2020; 172(3):186-194.

2. McCormick N, Yokose C, Wei J, et al. Comparative Effectiveness of Sodium-Glucose Cotransporter-2 Inhibitors for Recurrent Gout Flares and Gout-Primary Emergency Department Visits and Hospitalizations: A General Population Cohort Study. Ann Intern Med. 2023; 176(8):1067-1080.

3. Somagutta MKR, Luvsannyam E, Jain M, et al. Sodium glucose co-transport 2 inhibitors for gout treatment. Discoveries (Craiova). 2022; 10(3):e152.

4. Wei J, Choi HK, Dalbeth N, et al. Gout Flares and Mortality After Sodium-Glucose Cotransporter-2 Inhibitor Treatment for Gout and Type 2 Diabetes. JAMA Netw Open. 2023; 6(8):e2330885.


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
SGLT2 inhibitors ยารักษาโรคเบาหวาน โรคเกาต์
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้