หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลของน้ำมันปลาต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและอัตราการตาย

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มกราคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,942 ครั้ง
 
น้ำมันปลามีผลลดความเสี่ยงในการเกิด adverse cardiac events มีการศึกษาแบบอภิวิเคราะห์ (meta-analysis) ที่รวบรวมการศึกษาแบบสุ่ม (randomized trials) เข้ามาวิเคราะห์ผลรวม 12 การศึกษา รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดประมาณ 33,000 คน โดยระยะเวลาในการติดตามผลที่นานที่สุดคือ 60 เดือน ผู้วิจัยประเมินผลของการให้น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม(ประกอบด้วย -3 fatty acids eicosapentanoic acid [EPA] และ docosahexanoic acid [DHA]) ต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) และอัตราการตาย โดยบางการศึกษาที่นำเข้ามาวิเคราะห์ไม่ได้ประเมินผลทุกอย่างครบถ้วน สรุปผลจากการศึกษานี้ได้ดังนี้

1. ในผู้ป่วย implantable cardiac defibrillators น้ำมันปลาไม่มีผลลดความเสี่ยงในการเกิด ICD shocks

2. น้ำมันปลาไม่มีผลลดความเสี่ยงในการเกิด sudden cardiac death และการตายจากทุกสาเหตุ

3. น้ำมันปลาช่วยลดความเสี่ยงต่อการตายเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจร้อยละ 20

4. ในผู้ป่วย coronary artery disease น้ำมันปลามีผลลดความเสี่ยงในการเกิด sudden cardiac death ลงร้อยละ 26 รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการตายเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจร้อยละ 20



ผลการศึกษานี้สนับสนุนข้อแนะนำของ American Heart Association ที่ให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดบริโภคน้ำมันปลาวันละ 1 กรัม แต่ไม่สนับสนุนการให้น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตามกลไกของน้ำมันปลาในการลด adverse cardiac events ยังไม่ทราบแน่ชัด โดย EPA และ DHA มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และอัตราส่วนที่เหมาะสมของ EPA และ DHA ในน้ำมันปลาเพื่อเป็นอาหารเสริมก็ยังไม่แน่นอน



 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้