หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด Stevens-Johnson syndrome และ Toxic Epidermal necrolysis ในผู้ป่วยเด็ก

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,025 ครั้ง
 
การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่วิเคราะห์จากการรวบรวมเอาการศึกษาแบบ case-control 2 การศึกษาไว้ด้วยกัน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ประกอบด้วย case 80 ราย และ control 216 ราย ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ว่าการได้รับยากลุ่ม sulfonamides phenobarbital carbamazepine และ lamotrigine มีความเสี่ยงอย่างมากในการเกิด Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ Toxic Epidermal necrolysis (TEN) โดยเกิด SJS ร้อยละ 26 TEN ร้อยละ 34 และ overlap กันร้อยละ 40 นอกจากนี้ในการศึกษายังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Mycoplasma pneumoniae กลับซ้ำร้อยละ 9และไม่มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรค rheumatic disease หรือ lupus erytrematosus ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด SJS/ TEN ได้ ผู้ป่วยในการศึกษามีประวัติได้รับยาต้องสงสัยซึ่งในการศึกษามีผู้ป่วยเพียง 1 รายที่ได้รับยามากกว่า 1 ชนิดก่อนเกิดอาการ นอกจากยาที่กล่าวไปแล้วยังพบว่ายา valproic acid และ NSAIDs ได้แก่ ibuprofen (1 ราย) ketoprofen (1 ราย) nimesulid (1 ราย) และ acetaminophen (paracetamol) ก็มีความเสี่ยงในการเกิด SJS/TEN ด้วยเช่นกัน อุบัติการณ์การเกิด SJS/TEN พบมากขึ้นในผู้ใหญ่โดยพบอัตราตายร้อย 7.5 ในการศึกษานี้ขณะที่พบในผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 20-25
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้