หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทรศัพท์เคลื่อนที่อาจเป็นแหล่งที่มาสำคัญอย่างหนึ่งของการติดเชื้อฉวยโอกาส

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มีนาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,370 ครั้ง
 
นักวิจัยชาวตุรกีซึ่งนำทีมโดย Dr.Fatma Ulger และคณะ ค้นพบว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมักจะปนเปื้อนไปด้วยเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมถึงเชื้อฉวยโอกาส (nosocomial pathogen) ชนิดต่างๆ

ผลการเพาะเชื้อจากตัวอย่างที่ได้จากมือ(ข้างที่ถนัด) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤต (ICU) และห้องผ่าตัด จำนวน 200 คน ปรากฏว่า มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึงร้อยละ 95 และบ่อยครั้งที่พบเชื้อมากกว่า 1 ชนิด ที่สำคัญคือ ครึ่งหนึ่งของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่ตรวจพบดื้อต่อยา methicillin ขณะที่หนึ่งในสามของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดแท่งนั้นดื้อต่อยา ceftazidime โดยเชื้อที่ตรวจพบเหล่านี้ ทั้งจากมือและโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

เชื้อฉวยโอกาสที่พบบ่อยในโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก ICU ได้แก่ staphylococci, non-fermentative Gram-negative rods, coliforms, yeasts และ enterococci (ร้อยละ 33, 21, 21, 12 และ 7 ตามลำดับ) จากการสัมภาษณ์พบว่าพบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) ไม่เคยทำความสะอาดโทรศัพท์ของตนเองเลย เป็นที่มาของข้อสรุปว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายจากผู้ป่วยคนหนึ่งไปสู่ผู้ป่วยอื่นๆ ในหอผู้ป่วยหรือโรงพยาบาลเดียวกันได้ ผู้วิจัยจึงแนะนำให้ทำความสะอาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่เสมอ เพื่อป้องกัน/ลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อฉวยโอกาสในโรงพยาบาล
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้