หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Is 140/90 Low Enough for Nondiabetic Hypertensive Patients?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน สิงหาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,083 ครั้ง
 
แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดแนะนำว่าเป้าหมายของความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้เป็นเบาหวานนั้นควรจะอยู่ที่ 140/90 mm Hg แต่ยังไม่มีการทำการศึกษาเกี่ยวกับการลดระดับ systolic blood pressure (SBP) ให้น้อยกว่า 130 mmHg ในประชากรกลุ่มนี้เลย

ด้วยการสนับสนุนจากผู้ผลิตยา จึงมีการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยสุ่มผู้ป่วย 1111 คนที่เป็นความดันโลหิตสูงแต่ไม่ได้เป็นเบาหวานให้ควบคุม SBP อย่างรัดกุม(<130 mmHg) หรือควบคุมตามปกติ (< 140 mmHg) ผู้ป่วย (อายุ 55 ปี) มี baseline ของระดับ SBP อยู่ที่ 150 mmHg หลังจากได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันเป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ และมี cardiovascular risk factor อย่างอื่นอย่างน้อยอีก 1 อย่าง การรักษาเป็นแบบ open-label และเฉพาะบุคคลไป รวมถึงการรักษาก่อนการศึกษาร่วมกับ furosemide, hydrochlorothiazide, ramipril, telmisartan (Micardis), amlodipine, bisoprolol, และ clonidine

ผลการวัดความดันโลหิตด้วยวิธี auscultation ทุกๆ 4 เดือนและรายงานค่าเฉลี่ยจากการวัดความดันโลหิต 3 ครั้งหลังจากพัก 10 นาที ในกลุ่มที่คุมความดันโลหิตแบบรัดกุม พบค่าความดันโลหิต >130 mmHg 1 ครั้งที่ตรวจทำให้ต้องเพิ่มการรักษามากขึ้น ส่วนในกลุ่มที่ควบคุมตามปกติ พบค่าความดันโลหิต <130 mmHg 1 ครั้งที่ตรวจทำให้ต้องลดการรักษาลง โดย primary endpoint คือ การเกิด electrocardiographic left ventricular hypertrophy (LVH) ซึ่งได้รับการประเมินโดยผู้อ่านผลที่ไม่ทราบการรักษา(blind reader)

ที่ baseline ค่าความดันโลหิตทั้งสองกลุ่มเท่ากัน และประมาณ 20% ของผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มมีอาการของ LVH อยู่แล้ว หลังจากนั้น 2 ปี พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตแบบรัดกุมมีจำนวนผู้ป่วยที่ SBP < 130 mmHg มากกว่ากลุ่มที่ควบคุมตามปกติ ( 72% vs 27%) และกลุ่มที่ควบคุมตามปกติมีการเกิด LVH มากกว่ากลุ่มควบคุมแบบรัดกุมอย่างมีนัยสำคัญ (17.0% vs. 11.4%) อีกทั้งในกลุ่มที่ควบคุมตามปกติก็ยังเข้ากับ secondary composite endpoint (adverse cardiovascular outcome 9 อย่าง) มากกว่ากลุ่มที่ควบคุมแบบรัดกุมอย่างมีนัยสำคัญ(9.4% vs. 4.8%) อีกด้วย

ข้อคิดเห็น : LVH ไม่ใช่ clinical endpoint แต่ก็เป็นตัวทำนาย cardiovascular event ที่ดี จากการศึกษานี้พบว่าการลดความดันให้มากกว่า 140/90 นั้นผู้ป่วยสามารถทนได้ดีและอาจช่วยลด adverse cardiovascular outcome ได้ อย่างไรก็ดีผลดังกล่าวยังต้องได้รับการยืนยันจากการศึกษาที่ใหญ่กว่านี้และระยะเวลานานกว่านี้ต่อไป

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้