หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Reports of Altered Kidney Function in patients using Exenatide

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,592 ครั้ง
 
องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติข้อมูลบนฉลากยา exenatide (Byetta®) โดยระบุถึง post-marketing report เกี่ยวกับผลในการรบกวนการทำงานของไต ได้แก่ การทำให้เกิด renal failure หรือ renal insufficiency จากการใช้ยา exenatide

Exenatide เป็นยากลุ่ม incretin mimetic ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ถึงเป้าหมายร่วมกับการคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2005 จนถึงตุลาคม 2008 FDA ได้รับรายงานทั้งหมด 78 ชิ้นที่ระบุถึงผลในการรบกวนการทำงานของไต ( รายงาน 62 ชิ้นระบุถึงการเกิด acute renal failure และ รายงาน 16 ชิ้นระบุถึงการเกิด renal insufficiency) ของผู้ป่วยที่ได้รับยา exenatide บางรายงานระบุว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเกิดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไตอยู่แล้ว หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตอย่างน้อย 1 อย่าง

ตั้งแต่เริ่มมีจำหน่ายยา exenatide ในปี 2005 จนถึงเดือนกันยายนปี 2008 มีการจ่ายยา exenatide สูงถึง 6.6 ล้านใบสั่งยา ดังนั้นเมื่อคิดสัดส่วนจำวนรายงานที่เกี่ยวกับผลในการรบกวนการทำงานของไต 78 ชิ้นต่อจำนวนการใช้ยาทั้งหมดถือว่าการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวมีสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ยังมีการรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียเพิ่มเติมอีกด้วย

ข้อมูลหลักๆที่จะระบุเพิ่มเติมลงในฉลากข้อมูลยา มีดังนี้

• Byetta ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ severe renal impairment (creatinine clearance <30 ml/min) หรือ end-stage renal disease

• แพทย์ต้องระวังในการเริ่มต้นการรักษาหรือการเพิ่มขนาดยา Byetta จาก 5 mcg เป็น 10 mcg ในผู้ป่วยที่มีภาวะ moderate renal impairment (creatinine clearance 30 to 50 ml/min)

• แนะนำให้มีเฝ้าระวังการเกิด renal dysfunction อย่างใกล้ชิด และควรประเมินความจำเป็นในการใช้ Byetta ต่อ หากผู้ป่วยสงสัยว่าจะเกิด renal dysfunction จากการใช้ยา Byetta



 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้