หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ควรระมัดระวังในการให้ยา Warfarin ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2552 -- อ่านแล้ว 8,743 ครั้ง
 
วาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาที่ต้องระมัดระวังในการใช้ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการศึกษาว่า ภาวะไตวายเรื้อรัง (chronic kidney disease – CKD) ที่ระดับความรุนแรงต่างๆ และปัจจัยทางพันธุกรรม มีความสัมพันธ์หรืออิทธิพลอย่างไร ต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน

Dr. Nita และคณะ ได้ทำการศึกษาโดยการติดตามผู้ป่วย (a prospective cohort study ระยะเวลาสูงสุด 2 ปี) จำนวน 578 คน ซึ่งมีความรุนแรงของภาวะไตวายเรื้อรังระดับต่างๆ (mild or no CKD 59.5%, moderate CKD 31.2%, และ severe CKD 9.4%) และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี multivariable regression และ proportional hazard (adjusted for clinical and genetic factors) แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่รุนแรงนั้น (severe CKD หรือ an estimated glomerular filtration rate (GFR) < 30 ml/min/1.73 kg/m2) ได้รับยาวาร์ฟารินในขนาดต่ำกว่า (p=.0002) ใช้เวลาสั้นกว่า(สื่อถึงการควบคุมที่ไม่ดีนัก)ในการเข้าสู่ช่วงของ INR เป้าหมาย (p=.049) นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด overanticoagulation หรือ INR > 4 (p=.052) และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกที่เป็นอันตราย (major hemorrhage) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะไตวายเรื้อรังหรือมีความรุนแรงน้อยกว่า (hazard ratio 2.4, 95%CI 1.1-5.3, p=.027)

ผู้วิจัยจึงให้คำแนะนำว่า การให้ยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่ระดับปานกลางถึงรุนแรงนั้น ควรเริ่มต้นให้ยาในขนาดต่ำกว่าที่แนะนำไว้สำหรับคนทั่วไป (general population) และควรติดตามประเมินผลการรักษาอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจากยา
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้